การประยุกต์ใช้หลักอายุสสธรรมในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ทิพย์กานดา คันธวงศ์ สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

คำสำคัญ:

หลักอายุสสธรรม, การสร้างเสริมสุขภาวะ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาวะผู้สูงอายุ ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอายุสสธรรมในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอายุสสธรรมในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำราวิชาการ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้หลักอายุสสธรรมใน การสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัยพบว่า :

ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาวะหลายด้าน ได้แก่ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านจิตใจ 3) ด้านสังคม 4) ด้านปัญญา และแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักอายุสสธรรมในการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักสัปปายจารี 2) แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักสัปปายมัตตัญญู 3) แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักปริณตโภชี 4) แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักกาลจารี 5) แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักพรหมจารี

References

กมลทอง ธรรมชาติ และคณะ. (2552). สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

กรรณิกา ปัญญาวงศ์ และ พนัส พฤกษ์สุนันท์. (2555). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ:สาขาการจัดการสุขภาพชุมชนคณะศิลปศาสตร์สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน.

เทเวศร์ พิริยะพฤนท์. (2552). การส่งเสริมสุขภาพ. สืบค้น 1 มิถุนายน 2562, จาก http://www. swu.ac.th/royal/book6/b6c3t1.html

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2549). เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2520). ความสำคัญของสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: ภูพิงค์ราชนิเวศน์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. (2552). การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงระบบบริการการดูแลอย่างต่อเนื่องการบริการแบบผสมผสานการดูแลแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสรี พงศ์พิศ. (2553). สุขภาพ 200 คำ. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.

Maxwell, J.A. (1992). Understanding Reliability and Validity in Qualitative Research. Harward Educational Review, 62(3). 279-300.

Maxwell, J.C. (1996). Qualitative Research Design: An Interactive Approach. Thousand Oaks, Calif: Sage.

McMillan, JH. & Wergin, J.F. (2002). Understanding and evaluating educational research (2nd ed). New Jersey: Merrill prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30