รูปแบบการจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การจัดการ, แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพี่อศึกษาสภาพการจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัยคืออำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย คือ พระสงฆ์ ไวยาวัจกร ปราชญ์ชาวบ้าน บุคลากรสำนักงานวัฒนธรรม และบุคลากรขององค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวน 21 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพการจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนา พบว่า ในอดีตแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคามยังไม่เป็นระบบเพราะประชาชนในชุมชนยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลแหล่งโบราณคดี แต่ก็ยังมีการสงวนรักษาแหล่งโบราณคดีให้คงอยู่ตามสภาพเดิมมิให้เสียหาย ส่วนการจัดการแหล่งโบราณคดีในปัจจุบัน พบว่า ภาคประชาชน มีพระสงฆ์ ไวยาวัจกร ปราชญ์ชาวบ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับภาครัฐ คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล ได้ร่วมมือกันในการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีให้คงอยู่ในสภาพเดิม มีการส่งเสริมคนในท้องถิ่นให้เห็นความสำคัญ ให้ศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และมีการเผยแพร่แหล่งโบราณคดี เช่น แผ่นพับ เวบไซต์ เป็นต้น
2) รูปแบบการจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม คือ รูปแบบร่วมแรงร่วมใจในการจัดการแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความไว้วาง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างกิจกรรมและการรวมกลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การสร้างปฏิสัมพันธ์ ขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วม
References
กนกพร ฉิมพล. (2559). แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตะคุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 7-19.
นิสา พิมพิเศษ. (2554). แนวทางจัดการโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
พระครูวาปีจันทคุณ, พระอธิการสมหมาย อตฺถสิทฺโธ, พระสังเวียน ธีรปญฺโญ และ ทักษิณาร์ ไกรราช. (2560). รูปแบบการจัดการความรู้แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(ฉบับพิเศษ), 422-429.
พระมหาสมพาน ชาคโร, พระธรรมโมลี, พระมหาวิศิต ธีรวํโส, กฤษนันท์ แสงมาศ และ ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2560). การจัดการแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ปราสาทช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 311-320.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2548). กระบวนการโบราณดคีชุมชน : การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2548). การจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2547). ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม. กรุงเทพฯ: มติชน.