กระบวนการการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ ๒๑ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กิตติมศักดิ์ กลั่นแสง Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

จัดการเรียนการสอน, โรงเรียนพระปริยัติธรรม, แผนกธรรม, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของครูใน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม 2) เพื่อศึกษากระบวนการการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 5 ด้าน ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในลำดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.61) ตามลำดับ ได้แก่ อันดับ 1 ด้านการวัดผลและประเมินผล ( gif.latex?\bar{x}= 4.33) อันดับ 2 ด้านสื่อการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{x} = 4.25) อันดับ 3 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (gif.latex?\bar{x}  = 4.17) อันดับ 4 ด้านหลักสูตร (gif.latex?\bar{x}  = 4.03) อันดับ 5 ด้านการจัดการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{x}= 4.01)
  2. กระบวนการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ผู้สอนมีแผนการสอนและได้กำหนดเป้าหมายในการสอนด้วยเทคนิคและสื่อการสอนที่จะทำให้ผู้เรียน เกิดทักษะการคิดและการใช้เทคโนโลยีเชิงบูรณาการเข้ากับการใช้ชีวิต เน้นการเรียนรู้สู่การแลกเปลี่ยน และพัฒนากิจกรรมอินโนชั้นในการเรียนรู้
  3. 3. ได้กระบวนการการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1 บูรณาการหลักสูตรเข้ากับสถานการณ์ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 วางแผนระบบการจัดการเรียนการสอนเชื่อมโยงเข้ากับเทคโนโลยี เรียนผ่านระบบออนไลน์ ลดเวลาเรียนลงเพิ่มเวลารู้ 3 พัฒนากิจกรรมอินโนเวชั่นผ่านกิจกรรมการเชื่อมโยงเข้ากับหลักสูตร 4 สอดแทรกเทคโนโลยีระบบการเรียนรู้ สร้างความดุลให้การดำรงชีวิต เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 5 ส่งเสริมการเรียนเชิงบูรณาการ พัฒนาทักษะการนำไปประยุกต์ใช้เข้ากับศาสตร์สมัยใหม่

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยด้วยสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 64-71.

พระครูปัญญาวัฒนกิจ ปญฺญาวุฑฺฒโน (พึ่งสูงเนิน). (2549). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา ช่วงชั้นที่ 3 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา).

พระมหาสุธน วงศ์แดง. (2540). การประเมินผลการใช้หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สาธร แก่นมณี และคณะ. (2543). การประเมินผลการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดแพร่. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิน งามประโคน และคณะ. (2550). ประสิทธิภาพการสอนของครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29