ภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนา : วิถีชีวิตและการประยุกต์ใช้ของชุมชนชายขอบ ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนา, วิถีชีวิต, ชุมชนไทใหญ่บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาของชุมชนไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษากระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาพระพุทธศาสนาของชุมชนไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลการปฏิบัติของชุมชนไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้พื้นที่ในการวิจัย 3 ชุมชน ได้แก่ 1) ชุมชุมฟ้าเวียงอินทร์ (กุงจ่อ) อำเภอเวียงแหง 2) ชุมชนบ้านลาน อำเภอฝาง และ 3) ชุมชนบ้านพระธาตุปูแช่ อำเภอแม่อาย กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีจำนวน 15 คน ประกอบด้วย พระสงฆ์ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้แทนชุมชน ผู้นำชุมชมแต่ละพื้นที่ และมัคนายก ผู้วิจัยทำการศึกษาเอกสารและ สัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ในด้านวิถีชีวิตของชุมชนไทใหญ่นั้น ไทใหญ่ หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่บริเวณตะเข็บชายแดนห่างไกลจากสังคมเมือง ไม่ได้รับการดูแล การบริการหรือความคุ้มครองจากรัฐอย่างกลุ่มคนอื่น กลุ่มคนไทใหญ่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันเป็นพื้นฐาน 2) ในด้านกระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาทางพระพุทธศาสนานั้น กลุ่มไทใหญ่มีชีวิตที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา มีจิตสำนึกต่อตนเองและสังคม เคารพกฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน ระเบียบ ข้อบังคับ ประเพณีวัฒนธรรม ทำกิจกรรมสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ตามเทศกาล ตลอดปี 3) ด้านวิเคราะห์ผลการนำภูมิปัญญาพระพุทธศาสนาไปปฏิบัติของชุมชนไทใหญ่ พบว่า ชุมชนไทใหญ่ได้อบรมตนเอง พัฒนาชีวิต ตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ส่งผลให้ชุมชนไทใหญ่ เป็นชุมชนที่อยู่กันอย่างสันติ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน ปฏิบัติตามจารีตประเพณีที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษอย่างตั้งใจ
References
ไกรศรี ขาวพรม. (2561, 11 สิงหาคม). สัมภาษณ์โดย พูนชัย ปันธิยะ [การบันทึกเสียง]. ผู้นำชุมชนบ้านปูแช่ อำเภอแม่อาย, จังหวัดเชียงใหม่.
ขจร หน่อแก้ว. (2561, 10 สิงหาคม). สัมภาษณ์โดย พูนชัย ปันธิยะ [การบันทึกเสียง]. มัคนายก ชุมชนบ้านลาน อำเภอฝาง,จังหวัดเชียงใหม่.
พร จองจาม. (2561, 22 ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย พูนชัย ปันธิยะ [การบันทึกเสียง]. ปราชญ์ชาวบ้านฟ้าเวียงอินทร์ (กุงจ่อ) อำเภอเวียงแหง, จังหวัดเชียงใหม่.
พรรณิดา ขันธพัทธ์. (2558). การปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรม ความเชื่อ และอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
พระหลู่ วิริโย. 2561, 22 ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย พูนชัย ปันธิยะ [การบันทึกเสียง]. ประธานที่พักสงฆ์กุงจอ อำเภอเวียงแหง, จังหวัดเชียงใหม่.
พิสิฎฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2550). ภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วรรณา พูนพานิชย์ และคณะ. (2547). ชีวิตและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ.