แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนขนาดเล็กในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

ผู้แต่ง

  • รัฐวัลย์ เหมือนมาตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพครู, โรงเรียนขนาดเล็ก, ไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพศักยภาพของครู 2. เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพของครู 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของครูโรงเรียนขนาดเล็กในยุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเขต (Mixed Methods) ประชากรเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา 160 คน ผู้บริหารโรงเรียน 5 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นต่อสภาพศักยภาพของครูโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก
  2. วิธีการพัฒนาศักยภาพของครูโรงเรียนขนาดเล็ก มี 5 ด้าน คือ 1) ด้านการปฏิบัติงาน ครูควรมีเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงาน หาความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง รับผิดชอบงานที่มอบหมายด้วยความอดทน 2) ด้านการบริการ ครูควรมีมนุษยสัมพันธ์ดี ยินดีให้บริการ 3) ด้านการพัฒนาตนเอง ครูควรหาความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4) ด้านการทำงานเป็นทีม ครูควรมีความสามัคคี ให้เกียรติสมาชิกในทีม ยอมรับความคิดเห็นต่าง 5) ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ ครูควรมีธรรมาภิบาล ศรัทธาในอาชีพ รักเชิดชูอาชีพครู

3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนขนาดเล็ก มี 5 ด้าน คือ  1) ด้านการปฏิบัติงาน ควรลดภาระงานสอนให้น้อยลงให้กับครู และส่งเสริมให้เข้าอบรมพัฒนางานวิชาการและการสอนอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านการบริการ ควรเสริมสร้างจิตบริการให้กับครู พูดไพเราะ ยิ้มแย้มแจ่มใส และเป็นกัลยาณมิตรกับผู้รับบริการ  3)ด้านการพัฒนาตนเอง ครูควรสร้างองค์ความรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร  4) ด้านการทำงานเป็นทีม ควรส่งเสริมให้ครูทำงานเป็นทีม สร้างภาวะผู้นำ ให้โอกาสเพื่อนร่วมงาน สร้างกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน และ  5) ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณครู  ควรส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ทำบุญตักบาตร เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

คติยา อายุยืน. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะบุคคลตามหลักพุทธธรรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

ทีดีอาร์ไอ. (2558). แนวทางแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้น 25 กันยายน 2562, จาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2015/07/TDRI-Report-march-web-preview.pdf

ธัญญรัศม์ จอกสถิตย์. (2553). โมเดลการพัฒนาการปฏิบัติงานครู : การประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินครูที่เน้นการปฏิบัติงานเป็นฐานและการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2559). การศึกษาแนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม).

พระครูสิทธิวรธรรมวิเทศ จารุธมฺโม (ลือบางใหญ่). (2559). การพัฒนาการบริหารบุคลากรในสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพน์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

วรรณวิทย์ รัตนสุทธิกุล. (2544). มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนประถม ศึกษาจังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สายฝน วิบูลรังสรรค์. (2555). การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้การจัดการความรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 31(1), 145-152.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29