ศึกษาการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (ประจำประเทศไทย) ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ประสิทธิ์ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย

คำสำคัญ:

บริหารวิชาการ, มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารวิชาการ 2. เพื่อศึกษาการบริหารวิชาการ และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (ประจำประเทศไทย) ในศตวรรษที่ 21 เป็นการวิจัยรูปแบบผสมผสาน (Mixed Method) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา จำนวน 226 รูป/คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารวิชาการ จำนวน 5 ท่าน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยขาดระบบในการวางแผนงานด้านการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรม
  2. ผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารวิชาการ โดยภาพรวม รายด้าน ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ
  3. แนวทางการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (ประจำประเทศไทย) ในศตวรรษที่ 21 ควรดำเนินงาน คือ

3.1 ด้านหลักสูตร มหาวิทยาลัยควรจัดเนื้อหาในหลักสูตรการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมี เจตคติที่ดีต่อการเรียนพระพุทธศาสนาเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและสอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ ของนักเรียน

3.2 ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรเป็นสากลสามารถจัดการเรียนการสอนระบบทางไกลได้ ไม่ซับซ้อน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรใช้เทคโนโลยี และจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่บุคลากร ในมหาวิทยาลัยเรียนรู้กระบวนการสอน

3.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายรายวิชา สร้างความเข้าใจ มีความหลากหลาย น่าสนใจ เข้าถึงง่าย ประหยัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ต่อการเรียนการสอน

3.4 ด้านการวัดและประเมินผล ควรมีระบบการวัดและประเมินผลที่มีความสัมพันธ์กับสภาพจริง และพัฒนาเครื่องมือวัดประเมินผลให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับนโยบายการจัดการ ศึกษาของมหาวิทยาลัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กิดานันท์ มลิทอง. (2547). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ปิติชาย ตันปิติ. (2547). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย. (2562, 15 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย สุภาพร ประสิทธิ์ [การบันทึกเสียง]. คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, กรุงเทพฯ

สุเทพ ไชยวุฒิ. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29