แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแพทย์แผนไทย สาขาผดุงครรภ์ไทยยุคไทยแลนด์ 4.0

ผู้แต่ง

  • Khamolluck Phothiarunphat Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

การแพทย์แผนไทย, การเรียนการสอน, ไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์หลักสูตรแพทย์แผนไทยสาขาการผดุงครรภ์ไทย 2. เพื่อศึกษานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนการผดุงครรภ์ไทยใน ยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหาร ครู และนักเรียน จำนวน 131 คน สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทยและผู้ทรงคุณวุฒิด้านนวัตกรรม จำนวน 10 ท่าน เพื่อนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาสนับสนุนงานวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของคะแนนจากการตอบแบบสอบถาม

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้บริหาร ครู และนักเรียนวิชาผดุงครรภ์ไทยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแพทย์แผนไทย สาขาผดุงครรภ์ไทย ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวัดผลประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ (4.28) ด้านหลักสูตรออนไลน์ (4.28) ด้านสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (4.23) และด้านการเรียนการสอนออนไลน์ (4.22) ตามลำดับความสำคัญ
  2. 2. แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแพทย์แผนไทย สาขาผดุงครรภ์ไทย ยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้านหลักสูตรออนไลน์การสอนการผดุงครรภ์ไทย ควรสอดคล้อง กับหลักสูตรแกนกลางของสภาการแพทย์แผนไทย ด้านการเรียนการสอนออนไลน์ ครูต้องพัฒนาการ ใช้เทคโนโลยี เพื่อผลิตสื่อการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการวัดผลประเมินผลผ่านระบบออนไลน์ โดยการประเมินในรูปแบบข้อสังเกตพฤติกรรมผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมการต่าง ๆ ตามตัวชี้วัดผลการเรียนรู้การผดุงครรภ์ไทย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กิติศักดิ์ ณ สงขลา. (2563, 14 มกราคม). สัมภาษณ์โดย กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์ [การบันทึกเสียง]. อาจารย์ประจำภาควิชาภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

เกษม แสงนนท์. (2562, 22 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์ [การบันทึกเสียง].ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

ขวัญตา อุดมรักษ์. (2562, 26 ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์ [การบันทึกเสียงผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย อโรคยาศาสตร์, ศรีสะเกษ.

จันทนา วงษ์ศิริ. (2562, 15 ตุลามคม). สัมภาษณ์โดย กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์ [การบันทึกเสียง]. ผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์แผนไทย โรงเรียนเพ็ญแขการแพทย์แผนไทย, ปทุมธานี.

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ และคณะ. (2553). การศึกษาแนวโน้มคุณลักษณะของครูไทยในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556. (2556, 1 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนที่ 10 ก. หน้า 1-19.

พระมหาชำนาญ มหาชาโน. (2563, 14 มกราคม). สัมภาษณ์โดย กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์ [การบันทึกเสียง]. ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พิเชษฐ์ เลิศธรรมศักดิ์. (2562, 12 ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์ [การบันทึกเสียง].ผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์แผนไทย คลินิกหมอนภาการแพทย์แผนไทย, นนทบุรี.

สุภิณ ลือชัยสิทธิ์. (2562, 21 ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์ [การบันทึกเสียง]. ผู้อำนวยการคลินิกการแพทย์แผนไทยภาษีเจริญ, ธนบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อุดร เขียวอ่อน. (2563, 14 มกราคม). สัมภาษณ์โดย กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์ [การบันทึกเสียง]. อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,พระนครศรีอยุธยา.

อำนวย เดชชัยศรี. (2562, 29 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย กมลลักษณ์ โพธิอรุณพัชญ์ [การบันทึกเสียง]. อาจารย์พิเศษประจำคณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30