ศึกษาการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Daranpat Sritabtim Mahachulalongkornlajavidlayala University

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, การสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3) เพื่อเสนอแนวทางการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า สภาพการใช้นวัตกรรมทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.24) ตามลำดับ ได้แก่ อันดับ 1 นวัตกรรมการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{x}= 4.47) อันดับ 2 นวัตกรรมการประเมินผล ( gif.latex?\bar{x} = 4.40) อันดับ 3 นวัตกรรมสื่อการสอน (gif.latex?\bar{x}  = 4.34) อันดับ 4 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร (gif.latex?\bar{x}  = 4.30) อันดับ 5 นวัตกรรมการบริหาร (gif.latex?\bar{x} = 3.67)
  2. การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า มีการพัฒนานวัตกรรมทั้ง 5 ด้าน ตามลำดับ คือ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านการเรียนการสอน 3) ด้านนวัตกรรมสื่อการสอน 4) ด้านการประเมินผล 5) ด้านการบริหาร
  3. แนวทางการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พบว่า ครูควรบูรณาการนวัตกรรมกับหลักสูตรแกนกลาง สรุปเนื้อหาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทำให้ผู้เรียนสนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย กล้าคิด กล้าทำ อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ฝึกให้สืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ เรียนแบบมีส่วนร่วม เน้นสอนด้วยการปฏิบัติ จัดการความรู้ในองค์กร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ๊นติ้ง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

พัดสญา พูนผล, ชาตรี เกิดธรรม และ บุญเรือง ศรีเหรัญ. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).

วิภาพรรณ พินลา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสําหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักิณ, 30(1), 13-34.

สาธร แกนมณี และคณะ. (2543). การประเมินผลการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดแพร. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิน งามประโคน และคณะ. (2550). ประสิทธิภาพการสอนของครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30