ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการเรียนการสอนของครูในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียน ประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • Chutima Suesphan Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อความสุข, การสอนของครู, ไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการจัดการเรียนการสอนของครูในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการเรียนการสอนของครูในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมารและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างครูจำนวน 155 คน และใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติหาค่าความถี่ Frequency ร้อยละ Percentage ค่าเฉลี่ย Mean และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Standard Deviation และทดสอบสมมุติฐานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล หาค่าที t-test และ F-test กรณีตัวแปรมากสองกลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัย มีดังนี้

  1. ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการจัดการเรียนการสอนของครูในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนประถมศึกษา พบว่า โดยภาพรวม ครูมีความพึงพอใจต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขมากที่สุดในทุกด้าน ได้แก่ ด้านความรักในงาน ด้านความสำเร็จในงาน ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการ ทำงาน และด้านการเป็นที่ยอมรับ ตามลำดับความสำคัญ
  2. 2. ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการจัดการเรียนการสอนของครูในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนประถมศึกษา พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการจัดการเรียนสอนของครูในแต่ละด้าน พบว่า ระดับปัจจัยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความรักในงาน ด้านความสำเร็จในงาน ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน และด้านการเป็นที่ยอมรับ ตามลำดับ

References

บีบีซี นิวส์. (2560, 25 ตุลาคม). ประมูลทฤษฎีแห่งความสุขของไอน์สไตน์ได้ 1.5 ล้านดอลลาร์. บีบีซี นิวส์. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/ international-41745324

ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา. (2560). การสร้างสรรค์ความสุขของครูผู้สอน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 2(2), 190-202.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). Education Reform & Entrance 4.0. สืบค้น 21 มิถุนายน 2562, จาก https://www.moe.go.th/education-reform-entrance-4-0

พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ). [ม.ป.ป.]. งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุข. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (ว.วชิรเมธี). (2551). คนสำราญงานสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อมรินทร์.

มาริษา ชูกิตติพงษ์. (2550). คุณภาพชีวิตในการทำงาน อิทธิบาท 4 และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์ยานยนต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการทำงานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน. (วิทยานิพนธิปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

วิรัช ปัณฑ์ศิริโรจน์. (2559). Education 4.0. สืบค้น 21 มิถุนายน 2562, จาก https://www.applicad

thai.com/articles/article-education/education-4-0

Gilmer, V. H. B. (1967). Industrial psychology. New York: McGraw-Hill.

Manion, J. (2003). Joy at work: creating a positive work place. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-659.

Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality in the Classroom. New York: Harper & Brather.

Tyler, L. E. (1964). Psychology of Human Difference (3rd ed.). New York: Appleton-Century.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29