การจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณัชชวกร มีศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, วิชาพระพุทธศาสนา, ไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของนักเรียนระดับประถมศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 365 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีการทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.87) ตามลำดับ
  2. การเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนมีเพศและระดับช่วงชั้นต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุต่างกัน นักเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
  3. แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในยุคไทยแลนด์ 4.0 พบว่า ด้านสาระการเรียนรู้ เป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้สอนต้องประยุกต์การสอนและเตรียมการสอนก่อนที่จะสอนจริงในแต่ละชั่วโมง ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อให้นักเรียนเกิดประสบการณ์จริงจากการเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ควรใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนานักเรียนต่อเนื่อง และมีการประเมินผลในชั้นเรียน ประเมินจากผลการปฏิบัติตัวของนักเรียน นักเรียนมีพัฒนาการการเรียนที่ดีขึ้นโดยมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองในการประเมินการเรียนรู้

References

พระกันตพัฒน์ สุภทฺโท (เจริญจรัสวาศน์). (2560). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาสุธน วงศ์แดง. (2540). การประเมินผลการใช้หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สาธร แก่นมณี และคณะ. (2543). การประเมินผลการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดแพร่. กรุงเทพฯ:โครงการวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29