การบูรณาการหลักพุทธธรรมสู่การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ

ผู้แต่ง

  • เดช ยะมงคล Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเกษตรในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษากระบวนการบูรณาการหลักพุทธธรรมสู่การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมสู่การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี

ผลการวิจัย พบว่า

  1. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเกษตรในพระพุทธศาสนา พบว่า พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญกับอาชีพเกษตรกรรม ทรงสอนชาวนาให้ทำนาด้วยความศรัทธา ซื่อสัตย์ วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ทรงมีคุณธรรม 3 ประการ คือ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระกรุณาคุณ ทรงมีหลักการสอน และวิธีการสอนที่หลากหลาย หลักพุทธธรรมในการบูรณาการสู่การเรียนรู้งานเกษตรอินทรีย์ครั้งนี้ คือ หลักอริยสัจ4 และ หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
  2. กระบวนการบูรณาการหลักพุทธธรรมสู่การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00/81.78 ผลการทดสอบการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ในระดับมาก นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก กิจกรรมการบูรณาการมีประโยชน์และมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
  3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมสู่การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 2) ขั้นค้นหาสาเหตุ 3) ขั้นตั้งสมมุติฐาน 4) ขั้นวางแผนปฏิบัติ 5) ขั้นทดลองปฏิบัติ และ 6) ขั้นสรุปผลการเรียน

Author Biography

เดช ยะมงคล, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

นายเดช  ยะมงคล

คณะพุทธศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จิตรลดา ผึ้งทอง. (2555). ผลการสอนแบบอริยสัจสี่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแบบสืบสาวปัจจัยเรื่องหลักธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุริยาอุทัยพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. นนทบุรี: มหาวทิยาลยัสุโขทยัธรรมาธิราช.

จารุวรรณ ปัญญะติ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดรุณราษฎร์วิทยา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

เดช ยะมงคล. (2557). เอกสารประกอบการสอนการผลิตข้าวอินทรีย์วิถีพุทธ. เชียงใหม่: โรงเรียนนวมินทรา ชูทิศพายัพ.

นำชัย ทนุผล. (2531). ระเบียบวิธีการเขียนโครงการ. เชียงใหม่: ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: ธรรมสถานจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2559). หลักธรรมกับแนวคิดในการผลิตบัณฑิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2553). อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระปลัดชินภัทร วิทยารุ่งเรือง. (2555). การสร้างแผนการเรียนรู้ เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เน้นการใช้หลักอริยสัจสี่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

เพลิน. (2563, 10 พฤษภาคม). Smart Farming เกษตรอัจฉริยะ ความหวังใหม่ของเกษตรกรไทย. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/smart-farming.html

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2547). การเรียนการสอนที่มีวิจัยเป็นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2562, 1 ตุลาคม). สุภาษิต ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์และพันธกิจ. สืบค้นจาก https://www.mcu.ac.th/pages/philosophy-commitment-vision-mission

ระพีพร ชูเสน. (2552). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

แสง จันทร์งาม. (2526). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: กมลการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). เศรษฐกิจพอเพียง...นำสู่ความสุขของชีวิตอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

สำราญ ขันสำโรง. (2563, 16 พฤษภาคม). พืชมงคล. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/samran.khansamrong

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2541). ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

สมบัติ ไกรอ่ำ. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนาธรรม เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบอริยสัจสี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31