การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 สู่การเรียนรู้เชิงรุกในการเรียนภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • สุปราณี สาระรัตน์ Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4, การเรียนรู้เชิงรุก, การเรียนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักอิทธิบาท 4 และแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกในพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 สู่การเรียนรู้เชิงรุกในการเรียนภาษาอังกฤษ  และ 3) เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 สู่การเรียนรู้เชิงรุกในการเรียนภาษาอังกฤษ  การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม

ผลการวิจัย พบว่า

  1. หลักอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมนำสู่ความสุข ความสำเร็จ ประกอบด้วยฉันทะ คือ ความพอใจ วิริยะ คือ ความพากเพียร จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ และวิมังสา คือ การพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุและผล พระพุทธเจ้ามีองค์คุณของกัลยาณมิตร 7 ประการ คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่อง เป็นนักพูด เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ และไม่ชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย ทรงมีหลักการสอน ลีลาในการสอน และวิธีการสอนที่หลากหลาย ซึ่งเป็นแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 สู่การเรียนรู้เชิงรุกในการเรียนภาษาอังกฤษ
  2. การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 สู่การเรียนรู้เชิงรุกในการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.75/80.33 ผลการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมาก นักเรียนประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 สู่การเรียนรู้เชิงรุกในการเรียนภาษาอังกฤษในระดับมาก
  3. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 สู่การเรียนรู้เชิงรุกในการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 สู่การเรียนรู้เชิงรุกในการเรียนภาษาอังกฤษ มีกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นนำไปใช้ และขั้นสรุป โดยใช้ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสาในการเรียนทุกขั้นตอน ครูควรวิเคราะห์และประเมินความพร้อมของนักเรียนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

พระจีรศักดิ์ บุญฤทธิ์. (2549). ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มด้วยหลักอิทธิบาท 4 ที่มีต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2551). ทำอย่างไรจึงจะเรียนเก่ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). พุทธวิธีในการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

พระมนัส ธมฺมรโต (มีมณี). (2554). ศึกษาวิธีสร้างแรงจูงใจจากพุทธวิธีการสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี). (2562). มหัศจรรย์แห่งชีวิต. สืบค้น 10 กันยายน 2562, จาก https://www.facebook.com/TheMahatsajanOfLife

พระวีระวัฒน์ วีรวฑฺฒโน (ธงสิบสี่). (2558). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระสุนันท์ กิตฺติสทฺโท (สายพิมพ์พงษ์). (2551). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการทำงานศึกษากรณีผู้ทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริ ผิวชัย. (2560). ผลการใช้รูปแบบการบูรณาการหลักธรรมอิทธิบาท 4 กับการจัดกิจกรรมลูกเสือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). พุทธวิธีในการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2559). เอกสารประกอบการเสวนายุทธวิธีในการเผยแผ่ศาสนาของพระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://phil-re4you.blogspot.com/2016/02/blog-post.html

สถาบันทดสอบทางการศึกษา. (2562). จำนวนและร้อยละของนักเรียนตามช่วงคะแนนผลการสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สืบค้น 27 มีนาคม 2563, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx

สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์. (2555). การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อธิปพัฒน์ ธนธาวินวงศา. (2560). แนวทางในการดำเนินธุรกิจบริการเชิงพุทธบูรณาการ: กรณีศึกษาสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Dale, E. (1969). Audio – Visual Materials of Instruction. Chicago: University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31