รูปแบบการจัดการระบบนิเวศเชิงพุทธ พื้นที่คลองแม่ข่า ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

รูปแบบการจัดการระบบนิเวศเชิงพุทธ พื้นที่คลองแม่ข่า ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พัฒนา ใจหล้า Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

ระบบนิเวศ, เชิงพุทธ, คลองแม่ข่า, ตำบลป่าแดด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาการจัดการระบบนิเวศเชิงพุทธ
2) เพื่อศึกษาการจัดการระบบนิเวศใน พื้นที่คลองแม่ข่า ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง เชียงใหม่
3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการระบบนิเวศเชิงพุทธ พื้นที่คลองแม่ข่า ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง เชียงใหม่ ผลการศึกษา พบว่า

แนวคิดการจัดการระบบนิเวศเชิงพุทธ ได้เห็นวิวัฒนาการทั้งหมดของการจัดการระบบนิเวศเชิงพุทธจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันและเป็นการประยุกต์หลักการทางพระพุทธศาสนา
คือ ระบบนิเวศในพระพุทธศาสนา รวมเอาสิ่งแวดล้อมทั้งหมด (ดิเรก นุ่มกล่ำ, 2544 : 2) ทั้งตามธรรมชาติและทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและระบบนิเวศเชิงพุทธ พื้นที่คลองแม่ข่า ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง เชียงใหม่ ได้กระบวนการแก้ปัญหาคลองแม่ข่า โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการและมีส่วนร่วม กลุ่มผู้มีส่วนร่วมและกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงประเด็นปัญหาตั้งแต่การวางแผน การดำเนินการ การวิเคราะห์ ผลของการวิจัย ผู้มีส่วนร่วมเป็นส่วนสำคัญ ส่วนนำเสนอรูปแบบการจัดการระบบนิเวศเชิงพุทธ พื้นที่คลองแม่ข่า ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เห็นปัญหา ระดมความคิด เสวนาหาความรู้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนและลงปฏิบัติ ขั้นตอนแรก การจัดทำแพไม้ไผ่ เพื่อดักขยะในคลองแม่ข่า ขั้นตอนที่สองเป็นการดูแลรักษา ส่วนเป้าหมายให้ขยะในคลองไม่มีน้ำในคลองไหลสะดวกไม่มีสิ่งกีดขวางทางน้ำการจัดทำแพไม้ไผ่ เป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความเชื่อมโยงกับบริบทสังคม วัฒนธรรม มุ่งการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เกี่ยวกับการกำจัดขยะในคลองแม่ข่า เพื่อเป้าหมาย คือ ความยั่งยืนอย่างเป็นองค์รวม

References

ดิเรก นุ่นกล่ำ. (2544). เอกสารประกอบการสอน นิเวศวิทยาในพระพุทธศาสนา. (นครศรีธรรมราช : กรีนโซน.
พนอม แก้วกำเนิด. (2533). หลักการของหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
สงวน โชติสุขรัตน์. , (2516). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์.
มั่น เสือสูงเนิน. (2552). พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา. (ฉะเชิงเทรา : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสรีวัฒน์ สมินทร์ปัญญา. (2539). นิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อมกับการปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์. (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
The ‘environment’ is where we live; and development is what we all do in attempting to improve our lot within that abode. The two are inseparable”. United Nations Environment Programme. Global Environment Outlook GEO environment for development 4. United Nations Environment Programme in 2007. (Valletta: Progress Press LTD, 2007). p. 34
Naess, Arne, Ecology. Community and Life Style; Outline of an Ecosophy. (Cambridge: Cambridge University of Chicago. 1993). p. 36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31