ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ “โดยใช้สิ่งของใกล้ตัวเรียนรู้ควบคู่สนุก” สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • นวลจันทร์ บุดดา ข้าราชการครูเทศบาลตำบลแม่นะ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ทักษะทางวิทยาศาสตร์, กิจกรรมเสริมประสบการณ์, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์“ใช้สิ่งของใกล้ตัว เรียนรู้ควบคู่สนุก” สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ “ใช้สิ่งของใกล้ตัว เรียนรู้ควบคู่สนุก” เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ one – group pre – posttest กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา และ t-test

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การพัฒนาพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์“ใช้สิ่งของใกล้ตัว เรียนรู้ควบคู่สนุก” สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่า ผลที่ได้จากแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้สิ่งของใกล้ตัวเรียนรู้ควบคู่สนุกชั้นอนุบาลปีที่ 2 อยู่ในระดับ 80.31/80.26

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ “ใช้สิ่งของใกล้ตัว เรียนรู้ควบคู่สนุก” มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนทั้งหมด ( gif.latex?\bar{x} = 6.30) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนทั้งหมด ( gif.latex?\bar{x} = 23.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า คะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากคะแนนก่อนเรียน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 17.43 เมื่อเทียบกับค่าตาราง t ที่ .05 มีค่าเท่ากับ 1.94 แสดงว่าค่าเฉลี่ยทดสอบหลังเรียนมีค่ามากกว่าค่า t วิกฤติจึงสรุปได้ว่านวัตกรรม มีประสิทธิภาพ และภาพรวมของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 5 หน่วย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ “ใช้สิ่งของใกล้ตัว เรียนรู้ควบคู่สนุก” มีคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ย 6.29 คะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ย 23.71 มีค่าเฉลี่ยผลต่าง 17.43 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนรวมทั้งค่า t ที่.05 = 1.94 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กัญนิกา พราหมณ์พิทักษ์. (2551). การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (BBL). วารสารวิชาการ, 11(4), 19-23.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551, 13 กุมภาพันธ์). พัฒนาเด็กปฐมวัย ต้องใช้ความร่วมมือ. สยามรัฐรายวัน, น. 12

เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2554). ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี. สสวท, 40(174), 32-35.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Danielson, C. (2010). 377-378) Driver, M. (2001). Activity-based Costing: A Tool for Adaptive and Generative Organizational Learning?. The Learning Organization, 8(3), 94-105.

Illig, D. C. (1998). Birth to Kindergarten: The Importance of the Early Years. Sacramento, CA: California State Library.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-24