การคุ้มครองสิทธิลูกจ้างเหมาบริการของส่วนราชการ

ผู้แต่ง

  • จารุต มีสมศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

การคุ้มครองสิทธิ, ประกันสังคม, ลูกจ้างเหมาบริการของส่วนราชการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมของลูกจ้างเหมาบริการ โดยปัจจุบันพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติ เงินทดแทน พ.ศ. 2537 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ได้ขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของ ส่วนราชการ ซึ่งรวมถึงลูกจ้างเหมาบริการของส่วนราชการ ถือว่าเป็นการบังคับให้ส่วนราชการต่าง ๆ นำลูกจ้างมาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม แต่ส่วนราชการได้ทำสัญญาและข้อตกลงการจ้างเหมา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้สัญญาจ้างเหมาบริการนี้เป็นสัญญาจ้างทำ ทั้งที่การทำงานมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นการทำสัญญาจ้างเหมากับเอกชนเพื่อหลีกเลี่ยงการทำประกันสังคมให้กับพนักงานจ้างเหมาบริการ ซึ่งไม่ยุติธรรมกับพนักงานจ้างเหมาบริการเหล่านี้

ผลการวิจัยพบว่า การจ้างเหมาบริการส่วนใหญ่เกิดจากการจ้างเอกชนดำเนินงานซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เพื่อปฏิบัติงานในลักษณะงานเช่นเดียวกับข้าราชการและลูกจ้างประจำ สะท้อนให้เห็นด้วยว่านโยบายรัฐบาลที่มีความต้องการจะปรับลดขนาดกำลังคนภาครัฐ และทบทวนภารกิจเพื่อลดงบบุคลากร โดยมีมาตรการให้ยุบตำแหน่งข้าราชการที่เกษียณอาจยังไม่สามารถลดได้เท่าที่ควร ส่งผลให้พนักงานจ้างเหมาบริการไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะลูกจ้าง กระทบต่อสิทธิของบุคคลในเรื่องการประกอบอาชีพตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้ จึงได้เสนอแนวทางในการจ้างเหมาบริการของส่วนราชการ ควรจะเป็นการจ้างเหมาเอกชนที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล แทนการจ้างเหมาเอกชนบุคคลธรรมดา เพื่อที่จะให้นิติบุคคล หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนเหล่านั้น เป็นนายจ้างของผู้รับจ้างเหมาบริการ ซึ่งจะได้ขึ้นทะเบียนนายจ้างลูกจ้างและส่งเงินสมทบให้แก่ลูกจ้างเข้าในระบบประกันสังคม เพื่อเป็นการให้ความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนแก่ลูกจ้างเหมาบริการ รวมทั้งให้มีการแก้ไขระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มีการบังคับใช้ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2562). แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565). สืบค้น 20 ธันวาคม 2562, จาก http://reg3.diw.go.th/policy/wp-content/uploads/2020/01/download.pdf

กลุ่มงานมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ. (2552). อนุสัญญาฉบับที่ 111 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501). สืบค้น 26 พฤศจิกายน 2562, จาก http://ils.labour.go.th/doc/c111.pdf

กองนิติการ กลุ่มงานคดี สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. (2558). คู่มือการดำเนินคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.

จตุรงค์ ปัญญาดิลก. (2544). ปัญหาการจ้างเหมาบริการของส่วนราชการไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ทรงชัย ทิพยผลาผลกุล. (2540). ความรับผิดของผู้รับเหมาช่วงตามพระราชบัญญัติประกันสังคม.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2560). การวิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายรายการค่าจ้างเหมาบริการ. สืบค้น 24 ตุลาคม 2562, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=387

สำนักงานประกันสังคม. (2562). สิทธิของผู้ประกันตนมาตรา 40. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/45e217178d3833079890a2541305fc78.pdf

สฤณี อาชวานันทกุล. (2559). รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-23