แนวทางการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สะเรียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ ลิ่มมังกูร คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สังวาร วังแจ่ม

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการ, ความขัดแย้ง, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สะเรียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สะเรียง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 57 คน ของโรงเรียนในศูนย์บริหารการจัดการศึกษาห้วยห้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบบันทึกการสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่าการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่สะเรียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 มีการดำเนินการด้านการร่วมมือสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการยอมให้ ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านการเอาชนะ ตามลำดับและด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ การประนีประนอม

          แนวทางการจัดการความขัดแย้ง คือ ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ควรใช้มารยาทและเหตุผลที่เหมาะสมในการอภิปรายหรือพูดคุย ควรหลีกเลี่ยงปัญหาที่ไม่สำคัญ ควรให้โอกาส การให้อภัย และข้อแก้ตัวเมื่อมีคนทำความผิดพลาด

References

จตุรงค์ สุวรรณแสง, อัจฉรา นิยมาภา และ วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ. (2562). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิตราพัชร์ ชัยรัตนหิรัญกุล และ ธานี เกสทอง. (2556). การศึกษาการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิต ศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 3(5), 137-152.

ประกาทิพย์ ผาสุก. (2551). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลำพูน เขต 1 เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

พัชราภรณ์ กุลบุตร. (2555). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

มนูญ อุตรินทร์. (2555). พฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ยงยุทธ หงษ์สุพรรณ. (2555). พฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี).

รนัญชา แซ่เล้า. (2548). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

วัชรพล มนตรีภักดี. (2550). พฤติกรรมความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สมยศ นาวีการ. (2546). การบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สัมมา รธนิธย์. (2553). ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

สุวิทย์ บัวกอง.(2559). การบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มโรงเรียนดงขุย สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. (2562). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2566. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุดมศักดิ์ มั่นทน. (2559). สาเหตุและวิธีการจัดการกับความขัดแย้งของผู้บริหาร โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(2), 119-133.

Robbin, S. (1983). Organizational behaveor : Concepts,controversies,and applications (2 nd ed.) New Jersey: Prentice – Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31