แนวทางการบริหารงานวิชาการด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียนในศูนย์บริหารการจัดการศึกษาห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, วงจรคุณภาพ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียนศูนย์บริหารการจัดการศึกษาห้วยห้อม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียนในศูนย์บริหารการจัดการศึกษาห้วยห้อม ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 7 คน ครูจำนวน 41 คน และบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 24 คน รวมทั้งหมด 72 คน ของโรงเรียนในศูนย์บริหารการจัดการศึกษาห้วยห้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครืองมือวิจัยได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
การบริหารงานวิชาการด้วยวงจรคุณภาพของโรงเรียนของศูนย์บริหารการจัดการศึกษาห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากตามลำดับ
แนวทางการบริหารงานวิชาการด้วยวงจรคุณภาพ คือ โรงเรียนควรสำรวจความต้องการของชุมชนและผู้เรียนด้านหลักสูตรจัดทำข้อมูลสารสนเทศความต้องการผู้เรียน ชุมชน และสภาพความพร้อมของสถานศึกษา มีการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานการจัดแผนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และนำผลการวัดและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรรณิการ์ ประจักษ์พนา. (2557). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.
กฤติดา รัตถา. (2556). การบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.
ชนม์นิภา วรรณไพบูลย์. (2554). แนวทางการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนในศูนย์ประสานงาน สานศึกษาโพทะเล 01 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).
ดลฤดี กลั่นภูมิศรี. (2558). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง).
นิลวรรณ วัฒนา. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรียาภัสสร์ เส็งเส. (2555). การนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กในอำเภอไพศาลี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).
พนัส ด้วงเอก. (2555). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
ภูวนาถ ปัญญา. (2557). การดำเนินงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่สวด สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.