การจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พระครูสิริธรรมบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

การจัดการ, พิพิธภัณฑ์ชุมชน, ระบบอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้และกระบวนการจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชน เพื่อความยั่งยืนและพึ่งพาตนเอง 2) เพื่อสร้างรูปแบบทะเบียนโบราณวัตถุ และพัฒนาระบบกลไกในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) เพื่อสร้างต้นแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยแอพพลิเคชั่น การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 25 รูป/คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. พิพิธภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดลำปาง มีการรวบรวมองค์ความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ทั้งองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนา องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญา และองค์ความรู้ด้านการจัดการชุมชน นอกจากนี้ควรผลักดันให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ สารสนเทศ กิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ ในชุมชนที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองได้ สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้และกระบวนการจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชน เพื่อความยั่งยืนและพึ่งพาตนเอง
  2. รูปแบบและการขึ้นทะเบียนวัตถุโบราณ เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกับผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ จัดหน้าที่ โครงสร้างการดูแล การจัดหมวดหมู่ของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเริ่มจากการบันทึกภาพโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์ชุมชนในแต่ละแห่ง แห่งละ 30 ชิ้น รวม 3 แห่ง มีจำนวน 90 ชิ้น มาทำการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ และพัฒนาระบบกลไกในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยการบันทึกภาพถ่าย 3 มิติ และให้ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับวัตถุโบราณทั้ง 90 ชิ้น รูปแบบการจัดการผ่านระบบอีเลคทรอนิคโดยจัดทำเว็บไซต์ และApplication ในโทรศัพท์มือถือระบบ Android เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดพิพิธภัณฑ์ชุมชนแบบเดิม
  3. มีการสร้างต้นแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ 3 ประการดังนี้ 1) สร้างคิวอาร์โค้ดของโบราณวัตถุทั้ง 90 ชิ้น 2) มีการสร้างเว็บไซต์ชื่อ http://lpmuseum.net/ และ 3) มีการสร้างแอพพลิเคชั่น ที่ชื่อว่า LP Museum

References

คณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้. (2559). แผนยุทธศาสตร์การบูรณาการพิพิธภัณฑและแหล่งเรียนรู้ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้น 1 เมษายน 2559, จาก http://mlic.okmd.or.th/file/22112017110517.pdf

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2548). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ขององค์กรชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท (รุจิเวทย์). (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31