รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนอย่างครบวงจร
คำสำคัญ:
ขยะมูลฝอย, การบริหารจัดการ, หลัก 3Rsบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ เป็นการนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนอย่างครบวงจร เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ (1) การมีความตั้งใจจริงที่อยากจะทำให้ชุมชนของตนเองเป็นชุมชนที่ปราศจากปัญหาขยะ (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใด ๆ ในชุมชน จะเกิดความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนต้องมาจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน (3) การสร้างเครือข่ายในการทำงานทั้งภายในและภายนอกชุมชนที่เป็นหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เป็นการสร้างความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ทำให้ชาวบ้านและประชาชนในชุมชนได้มีบทบาทร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการขยะของชุมชนอย่างครบวงจร (4) การใช้หลักการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร เน้นการดำเนินการด้านการลดปริมาณขยะ ตามแนวทางหลัก 3Rs (ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่) และการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับประโยชน์และร่วมประเมินผล ยึดหลักการพึ่งตนเองโดยมุ่งใช้ทรัพยากรในแต่ละชุมชนเป็นต้นทุนสำหรับกิจกรรมการจัดการขยะ เช่น การตั้งกลุ่มคัดแยกประเภทขยะ ธนาคารขยะ การแปรรูปขยะเป็นพลังงานทดแทน (น้ำมัน,ถ่าน) การทำปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพ โดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนส่งเสริมและขยายผลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อพัฒนาเป็นชุมชน ปลอดขยะ ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2557). คู่มือสร้างวินัยสู่การจัดการขยะที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. (2542). คู่มือการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
ยุพา อยู่ยืน. (2555). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลย์ลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พระราชบัญญัติการสาธารณะสุข (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550. (2550, 27 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 124 ตอนที่ 28 ก. หน้า 1-5.
วชิรวิชญ์ วรชิษณุพงศ์. (กรกฎาคม, 2560). รูปแบบการจัดการขยะชุมชน ในเทศบาลเทศบาลตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 13 วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วุฒิพงษ์ ศรีศิลป์. (2553). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการขยะมูลฝอย ณ จุดเริ่มต้นโดยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลลืมตอง จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สุพัตรา คูโพนทอง. (2553). การบริหารจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย ตำบลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564). กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. (2558). แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 -2562. กรุงเทพฯ: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (2560) .เจ็ดแล้วจำ: หลัก 7R ช่วยลดปริมาณขยะ
สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๓. https://www.greenery.org/articles/7r-campaign/
อดิศักดิ์ ทองไข่มุก. (2533). สถานการณ์การจัดการของเสียในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน.
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเตย (2562) .การคัดแยกขยะ สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563
จาก http://www.huatei.go.th/news/detail/39615