การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์
คำสำคัญ:
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง, พุทธจริยศาสตร์บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ 3) เพื่อบูรณาการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ใหม่เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก และการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัย พบว่า:
- การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เช่นโรคมะเร็ง โรคเอดส์ หรือโรคเรื้อรังในระยะสุดท้าย รวมทั้งผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง จึงต้องดูแลแบบประคับประคองโดยมีเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม
- หลักพุทธจริยศาสตร์และจรรยาบรรณในวิชาชีพพยาบาลได้แก่ หลักพรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 และหลักไตรลักษณ์ มาเป็นแนวทางให้พยาบาลได้ใช้ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในมิติทางกายและมิติทางใจเพื่อให้การดูแลแบบองค์รวม
- การบูรณาหลักพุทธจริยศาสตร์โดยการนำหลักพรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 มาใช้ในการบูรณาการให้การดูแลแบบประคับประคองในมิติทางกาย และหลักไตรลักษณ์นำมาบูรณาการในการดูแลในมิติทางใจ
- องค์ความรู้ใหม่เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองด้วยหลักพุทธจริยศาสตร์ได้แก่ “LAW Model” L ย่อมาจาก Loving-kindness คือความรักและเมตตา A ย่อมาจาก Altruism หมายถึงจิตของผู้ให้ที่มีน้ำใจงดงาม W ย่อมาจาก Wisdom หมายถึงความมีปัญญาในการเห็นความจริงตามธรรมชาติของชีวิต LAW Model จึงเป็น “กฎของความสุข” ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่เกิดจากการบูรณาการหลักพุทธจริยศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเป็นองค์รวมและช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเข้าสู่มิติของ “ตายอย่างสมศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์” เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตได้อย่างสงบสุข
References
กิตติกร นิลมานัต. (2555). การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
ดรรชนีย์ สินธุวงศานนท์. (2558). บูรณาการการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 21(1), 54-64.
บุญทิวา สู่วิทย์ และ สุณี พนาสกุลการ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ เจตคติ กับการปฏิบัติการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 178-194.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สหธรรมิก.
พระไพศาล วิสาโล. (2552). การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ. กรุงเทพฯ: เครือข่ายพุทธิกา.
พระเทวินทร์ เทวินฺโท.(2549). แก่นพุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ., มปท].
สภาการพยาบาลและสมาคมแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือพัฒนาทักษะสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. นนทบุรี: สภาการพยาบาลและสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2559). แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ.2557-2559. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
อภิราชย์ ขันธ์เสน และ ไพศาล ลิ้มสถิตย์. (2552). ก่อนวันผลัดใบ หนังสือแสดงเจตนาการจากไปในวาระสุดท้าย.
กรุงเทพฯ: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์.
Miles, M. B, & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis (2nd ed.). Newbury Park, CA: Sage.
Whitmire, V. M., & Utz, S. W. (1985). Teaching the art of holistic nursing care. Nursing & Health Care, 6(3). 147-150.