ความท้าทายต่อการแปลงเปลี่ยนบทบาทพระคิลานุปัฏฐากในงานสาธารณสุข เพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวมพระสงฆ์ภายในวัดและชุมชน

ผู้แต่ง

  • พระมหาณัฏฐานันท์ อนาลโย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัดและชุมชน, สุขภาพแบบองค์รวม, งานสาธารณสุข, พระคิลานุปัฏฐาก

บทคัดย่อ

          บทความนี้ ต้องการสะท้อนทัศนะให้เห็นถึงการพัฒนาศักยภาพของพระคิลานุปัฏฐากว่าจะมีความท้าทายต่อการแปลงเปลี่ยนบทบาทของตนเองในงานสาธารณสุข เพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวม พระสงฆ์ภายในวัดและชุมชนในอนาคตต่อไปได้อย่างไร การสร้างและพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพ) เพื่อให้ได้บุคลากรพระคิลานุปัฏฐากที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ การประเมิน คัดกรองสุขภาพส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ดูแลรักษาตนเอง ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และฟื้นฟูพระสงฆ์ที่อาพาธ ดูแลพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ และสหธรรมที่เอื้อต่อพระธรรมวินัยให้มีสุขภาพแข็งแรงและชุมชนได้นั้น เป็นการเตรียมการรองรับระบบการดูแลพระสงฆ์ในดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งพระสงฆ์ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม ถือเป็นความท้าทายการแปลงเปลี่ยนทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอดจนการรื้อทิ้งกระบวนการสรรหาแบบเก่าๆ และสร้างระบบการเฟ้นหา และคัดสรรรูปแบบใหม่ ๆ ให้ได้มาซึ่งคนคุณภาพที่มีจิตวิญญาณ มาทำงานเชิงสังคมสงเคราะห์ของระบบสงฆ์ที่เป็นรูปธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่เสมือนการทำโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมาเป็นการทำแบบเพียงพิธีกรรมผ่านไป ไม่มีความยั่งยืน ในกระบวนการดำเนินงานอย่างชัดเจนแต่อย่างใด

References

จุรีพร คงประเสริฐ. (2563). แผนงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ปี 2556. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.thaincd.com/document/file/download/powerpoint/PPNCD_56.ppt

ดาวรุ่ง สุภากรณ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างความหวังการรับรู้ กับพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขภาพของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ภูเบศ ด้วงสงกา. (2561). พระคิลานุปัฏฐากต้นแบบ ดูแลสุขภาวะพระสงฆ์. พิษณุโลก: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 2.

มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552ก). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺฺโต). (2552ข). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). อานุภาพพระปริตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระคันธสาราภิวงศ์. (2541). พระปริตรธรรม. ลำปาง: จิตวัฒนาการพิมพ์.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. (2561). คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.). กรุงเทพฯ: สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

Vanhala, M., Vanhala, P., Kumpusalo, L., Halonen, P., & Takala, J. (1998). Relationship between obesity from childhood to adulthood and the metabolic syndrome: Population based. British Medical Journal, 1(3), P. 319-329.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31