ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม ต่อทักษะการทำงานร่วมกัน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
การสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม, ทักษะการทำงานร่วมกัน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลมฟ้าอากาศ ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลมฟ้าอากาศรอบตัว จำนวน 5 แผน 2) แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกันโดยผู้สังเกต แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกันโดยเพื่อนในกลุ่ม และแบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกันโดยนักเรียนประเมินตนเอง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลมฟ้าอากาศรอบตัว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มมีการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันในระดับที่สูงขึ้น ทั้งจากการประเมินโดยผู้สังเกตได้คะแนนเฉลี่ร้อยละ 76.60 การประเมินโดยเพื่อนในกลุ่ม ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.40 และการประเมินโดยนักเรียนประเมินตนเอง คิดได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.27 ผลประเมินอยู่ในระดับดี 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลมฟ้าอากาศรอบตัว หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มได้คะแนนเฉลี่ย 34.09 คะแนน ซึ่งสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ได้คะแนนเฉลี่ย 16.97 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา กรมศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทศวร มณีศรีขำ. (2539). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการพัฒนา สำหรับครู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
นงคราญ จิตรจง. (2550). ทักษะการจัดการของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่เรียนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
นิตยา เจริญนิเวศนุกูล. (2541). ผลของการใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือประเภทการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมที่มีการทดสอบย่อยต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
บุญชม ศรีสะอาด.(2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรภัทร สินดี. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้บูรณาการเชิงวิธีการที่เน้นกระบวนการกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่องลำดับอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
มาลา รมราศี. (2554). ผลของการใช้บทเรียนอัตลักษณ์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่มีต่อกระบวนการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม สารนิพนธ์ กศ.ม. (การประถมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2543). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิชชุดา วิจิตรวงศ์. (2555). ผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อการพัฒนาการทำงานร่วมกันจองนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนพระหฤทัยพัฒนเวศม์ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สาขาจิตสิทยากาแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คนิษา ลำภาศาล. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
เสาวลักษณ์ น้อยอาษา. (2547). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
อัจจิมา เกิดผล. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับวิธีสอนแบบปกติ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Johnson, D. W., & Johnson, F. P. (1991). Joining together: Group theory and group skills (4th ed.). Massachusetts: Allyn & Bacon.
Sharan, Y., & Sharan, S. (1989). Group Investigation Expand Cooperative Learning. Education Leadership, 47(4), 17-21.