ศึกษาเชิงวิเคราะห์ประเพณีการทานขันข้าวของประชาชนล้านนาไทย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ประเพณี, การทานขันข้าว, ล้านนาไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความหมายและประเภทของการทาน ขันข้าวของประชาชนล้านนาไทย 2) เพื่อศึกษาประเพณีในการทานขันข้าวของประชาชนล้านนาไทย 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าในการทานขันข้าวของประชาชนล้านนาไทย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 รูป/คน ประกอบด้วยพระสังฆาธิการ 6 รูป ปราชญ์ล้านนา 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์เชิงพรรณา
ผลการวิจัยพบว่า :
- การทานขันข้าวและประเภทของการทานขันข้าว หมายถึงการเตรียมสำรับอาหารอันมีอาหาร ผลไม้ น้ำดื่ม ดอกไม้ ธูปเทียน สวยดอกไม้ น้ำสำหรับกรวด จัดเตรียมในถาดให้ดูสวยงามแล้วนำไปถวายพระสงฆ์เพื่ออุทิศทาน ประเภทของการทานขันข้าว มีการทานอุทิศไปหาผู้ล่วงลับมี บรรพบุรุษ ปู่ย่า ตา ยาย พ่อแม่และญาติพี่น้อง ทานครบรอบวันเกิด เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต ทานให้กับเทวดา ที่รักษาบ้านเมือง วัดวาอาราม รักษาเขตบ้านแดนเมือง ทานให้กับตนเอง เป็นการสั่งสมบุญบารมีให้กับตนเอง
- ความเชื่อเกี่ยวกับทานขันข้าว ประเพณีทานข้าวใหม่เดือนสี่เป็ง หลังจากสิ้นฤดูทำนาเก็บเกี่ยวข้าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะนำไปบริโภค มีความเชื่อว่าต้องไปทานให้กับพระสงฆ์ก่อน เพื่ออุทิศไปหาบรรพบุรุษ รวมถึง เทวดา แม่พระธรณี พระภูมิเจ้าที่ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณ ความเชื่อเกี่ยวกับทานขันข้าวประเพณีสงกรานต์ เป็นการกตัญญูรู้คุณของผู้มีพระคุณที่อุปการะเลี้ยงดูเป็นการแสดงออกซึ่งความรัก ความห่วงหา ทานขันข้าวประเพณีวันเข้าพรรษาออกพรรษา มีความเชื่อเกี่ยวกับพระภิกษุ สามเณร ที่ได้จำพรรษาถือวัตรปฏิบัติธรรม และพุทธศาสนิกมีโอกาสใกล้ชิด มีโอกาสได้ทำบุญใส่บาตร ฟังธรรมปฏิบัติธรรม ทานขันข้าวประเพณีเดือนสิบสองเป็ง เชื่อว่าวันนี้เป็นวันปล่อยเปรต ปล่อยผี ที่พญายมบาลอนุญาตให้มารับเอาของทาน จากญาติพี่น้องในเมืองมนุษย์ ตลอดถึงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษให้ได้รับอานิสงส์
- การทานขันข้าว มีคุณค่าด้านจิตใจทำให้แช่มชื่น เบิกบาน มีความสุข เป็นการสร้างความสัมพันธ์กันในครอบครัว ปลูกฝังแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน ให้รู้จักบุญคุณของบรรพบุรุษ คุณค่าทางวัฒนธรรมเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี การทำบุญสืบทอดเอกลักษณ์การทานขันข้าวเป็นแบบฉบับไม่เหมือนกับภาคอื่น เป็นการแก่ทำนุบำรุงพระภิกษุสามเณรพระพุทธศาสนาให้เจริญยาวนานต่อไป
References
ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ. (2542). สืบสานล้านนา สืบต่อลมหายใจของแผ่นดิน. เชียงใหม่: มิ่งเมืองเนาวรัตน์การพิมพ์.
พระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวํโส (คำเชื้อ). (2554). ศึกษาวิเคราะห์ปุพพเปตพลีที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานล้านนา กรณีศึกษาคัมภีร์ปุพพเปตพลีฉบับวัดหลวงราชสัณฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระครูพัฒนมงคล. (2556). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องปัตติทานมัยในพุทธปรัชญาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).
พระครูไพศาลธรรมานุสิฐ (ถนอม ภิญโญจิตร). (2547). การศึกษาเปรียบเทียบตัวอย่างการให้ทานในพรสุตตันตปิฎกกับการปฏิบัติจริงในลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
พระครูวิสณฑ์สมณกิจ (ถาวร ยโสธโร). (2555). การทำบุญสารทไทยตามความเชื่อพระพุทธศาสนาเถรวาทของประชาชนอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).
พระครูวิสิฐปัญญาคม (ทำเลดี). (2556). ศึกษาวัฒนธรรมการให้ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).
พระประวิทย์ วิสุทฺโธ (ปานทอง). (2548). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องเปรตในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).
พระมหาเชน แสวงมิ้ม. (2542). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอานิสงส์ของการทานในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).
พระมหาบุญกอง คุณาธโร (มาหา). (2548). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความกตัญญู (กตญฺญุตา) ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระมหาสง่า ไชยวงศ์. (2541). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องทานในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
มณี พะยอมยงค์. (2543). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทยรวมเล่ม. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.
สุรพล ดำริห์กุล. (2542). ล้านนา สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พรินท์.
สุวรรณฐา ลึม. (2560). แนวทางส่งเสริมกตัญญูกตเวทีในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).