การบูชาดอกไม้พันดวง : อัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชนไทลื้อบ้านร้องแง
คำสำคัญ:
ดอกไม้พันดวง, ไทลื้อ, บ้านร้องแงบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาและเผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาการบูชาดอกไม้พันดวง (ดอกไม้หลากหลายชนิดที่ในภาชนะจักสาน) ที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชนชาวไทลื้อ บ้านร้องแง ตำบล วรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากการวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีรากฐานจากวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชาวไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสำรวจวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชาวไทลื้ออำเภอปัว จังหวัดน่าน และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการต่อยอดให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมภูมิปัญญาไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) ลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์ผู้รู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชาวไทลื้อในอำเภอปัว จังหวัดน่าน และ 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคเพื่อค้นหาศักยภาพและความต้องการผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาชาวไทลื้อ ส่วนหนึ่งจากการสำรวจวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชาวไทลื้อ พบว่าการบูชาดอกไม้พันดวงเป็นวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชาวไทลื้อ บ้านร้องแง อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยจะทำการบูชาในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 (ตามปฏิทินชาวไทลื้อ) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาโดยมีรากฐานมาจากความเชื่อเรื่องพระเวสสันดรชาดกในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะของภูมิปัญญาที่มีทั้งส่วนที่เป็นนามธรรม คือ ความเชื่อความศรัทธา และส่วนที่เป็นรูปธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติและการสร้างสรรค์เกิดเป็นชิ้นงาน ได้อย่างชัดเจน โดยส่วนที่เป็นนามธรรมจะช่วยในการกำหนดทิศทางความคิดและการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ดีงาม
References
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิต. (2563). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. อ่างทอง: องค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิต.
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2549). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977).
ธนิสร หลักชัย. (2563). ดอกไม้พันดวง งดงามที่บ้านร้องแง. สืบค้น 3 มีนาคม 2563, จาก https://www.artoftraveler.com/2020/11/07/dokmaiphandaung
ผู้จัดการออนไลน์. (2563, 4 พฤศจิกายน). "ดอกไม้พันดวง" ประเพณีน่ารักในงานบุญเทศน์มหาชาติของชาวไทลื้อ วัดร้องแง อ.ปัว จ.น่าน. สืบค้น 8 ธันวาคม 2564, จาก https://mgronline.com/travel/detail/9630000114303
พระครูพิสุทธิ์วรคุณ (2563, มีนาคม 25). ประวัติวัด. ป้ายข้อมูลวัดร้องแง, น่าน.
วีระพงษ์ แสง-ชูโต. (2544). การวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีพื้นบ้านในทางวิทยาศาสตร์ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
วีระพงษ์ แสง-ชูโต. (2564). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2535). ภูมิปัญญาไทย. วารสารพัฒนาชุมชน, 31(5), 74-78.
สุทธิกัญจน์ ทิพยเกษร. (2564). เอกสารประกอบการสอนชุดที่ 8: ภูมิปัญญาทางวิทยาศาสตร์กับความเชื่อ. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง. (2562). ยี่เป็งวัดร้องแง แปงแตะดอกไม้ปันดวง. สืบค้น 8 ธันวาคม 2564, จาก https://www.nairobroo.com/travel/1000-flowers-festival-nan
อัญชัน ศศิวัจน์ไพสิฐ, สุทธิกัญจน์ ทิพยเกษร และ ปวีณา ผาแสง. (2564). การศึกษาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีรากฐานจากวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชาวไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน. น่าน: วิทยาลัยชุมชนน่าน.