สองวัยสองวัฒนธรรมกับการเมืองไทย
คำสำคัญ:
วัย, วัฒนธรรม, การเมืองไทยบทคัดย่อ
ปัจจุบันปัจจัยทางสังคมได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบดั้งเดิมมาเป็นสังคมสมัยใหม่ ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ความคิดเห็นทางการเมืองของคนสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนรุ่นเก่ากับกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยทั้งสองกลุ่มมีแนวคิดที่แตกต่างกันโดยเฉพาะเรื่องทางการเมือง โดยสามารถแยกความเห็นที่แตกต่างกันดังนี้
กลุ่มคนรุ่นเก่า ยังคงยึดถือแนวคิดทางการเมืองแบบเดิม เช่น การยอมรับอำนาจของผู้นำประเทศ ให้ความเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
กลุ่มคนรุ่นใหม่ มีแนวคิดทางการเมืองแบบใหม่ เช่น การยอมรับบางประการและไม่ยอมรับบางประการของผู้นำ ยอมรับบางประการของสถาบันพระมหากษัตริย์
ดังนั้นหากเราวิเคราะห์ความแตกต่างกันทางความคิดดังกล่าว มีสาเหตุหลักดังต่อไปนี้
1) ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นเก่ามีน้อยกว่าคนรุ่นใหม่ 2) สิ่งแวดล้อมของกลุ่มคนสองวัยแตกต่างกัน คนรุ่นเก่าเคยชินกับสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างช้า แต่คนรุ่นใหม่อยู่ในยุคของสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 3) ข้อมูลข่าวสารของกลุ่มสองวัยต่างกัน กลุ่มคนรุ่นเก่ายังเคยชินกับข้อมูลที่ขึ้นอยู่กับรัฐส่วนคนรุ่นใหม่รับข้อมูลอื่นนอกจากรัฐ 4) วัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างกัน กลุ่มคนรุ่นเก่ายังเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติและยอมรับกับอำนาจรัฐแต่คนรุ่นใหม่เชื่อทางวิทยาศาสตร์มากกว่าและไม่ยอมรับอำนาจรัฐในบางประการ เช่น ไม่ยอมรับอำนาจที่ไม่ชอบธรรม
References
โกวิทย์ คุณรัตน์. (2541). การกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในสังคมเมืองและสังคมชนบท : กรณีศึกษาเปรียบเทียบโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ณรงค์ พ่วงพิศ. (2530). การเมืองไทย : ความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
เพ็ญนภา เว็บบ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของผู้สูงอายุ จังหวัดนครนายก หลักสูตรรัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ไพฑูรย์ เครือแก้ว. (2518). ลักษณะสังคมไทย กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของการเยาชนไทย : มูลเหตุ รูปแบบ และผลที่เกิดขึ้น ตามมา วารสารรัฐศาตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(1), 1 -18
วิชัย ภู่โยธิน. (2530). วัฒนธรรมทางการเมืองของนักศึกษาวิทยาลัยครู ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย : ศึกษาเฉพาะกรณี ความภาคภูมิใจในชาติ ความมีสมรรถนะทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าและความมีสมรรถนะทางการเมืองแบบผู้มีส่วนร่วมในการปกครอง. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ วิทยาลัยครูพระนคร.
อานนท์ อาภาภิรม. (2525). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
อุทัย หิรัญโต. (2526). สารนุกรมศัพท์รัฐประสานศาสตร์ (บริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
Almond, G. A., & Verba, S. (1963). The Civic Culture: Political Attitudes and Democracy in five Nations. Princeton, NJ: Princeton University Press.