แหล่งเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ของอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • คมกริช บุญเขียว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • คธาวุธ ศรียา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

แหล่งเรียนรู้, ชุมชนท้องถิ่น, การเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สำรวจแหล่งเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี 2) ศึกษาศักยภาพของแหล่งเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นของอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารงานวิจัย การสำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู เจ้าอาวาส ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชน จำนวน 20 คน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อจัดประเภทแหล่งเรียนรู้และวิเคราะห์ศักยภาพของแหล่งเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น

ผลการศึกษาพบว่า

  1. แหล่งเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนวิชาสังคมศึกษาได้ โดยสามารถจัดประเภทตามความโดดเด่นได้ 3 ประเภทได้แก่ 1) แหล่งเรียนรู้ด้านประเพณีและความเชื่อ 2) แหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ และ 3) แหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
  2. ศักยภาพของแหล่งเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่นในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับการค้นคว้าเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคโบราณ และเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของสังคมมนุษย์ในดินแดนของไทย รวมทั้งศักยภาพในการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมชุมชนให้แก่คนรุ่นหลังโดยเฉพาะประเพณีความเชื่อ ที่มีชื่อเสียงของชุมชน และศักยภาพเพื่อกิจกรรมในเชิงทัศนศึกษาทั้งในเชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม

References

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2560). อุดมคติวิทยาหลักสูตรสังคมศึกษาเพื่อปวงชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เด่นวิช ชูคันหอม, สุชาติ บางวิเศษ, และ ฉลาด จันทรสมบัติ. (2558). รูปแบบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(1), 153-168.

นงเยาว์ อุทุมพร. (2561). การบริหารจดการแหล่งเรียนรู้ของชมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างยั่งยืน อำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เบญจวรรณ ระตา. (2551). การใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลดอกเงิน จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ประยูร วงศ์จันทรา. (2555). วิทยาการสิ่งแวดล้อม. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พจน์ การะเกษ และ จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์. (2560). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วารสารวิทยาลัยนครราชีมา, 11(1), 155-166.

พยุง ใบแย้ม, พนม พงษ์ไพบูลย์, และ กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2558). การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในถิ่นที่เหมาะสมเพื่อการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา. วารสารสารสนเทศ, 14(1), 23-34.

พิมพันธ์ เดชุคุปต์. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน : การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ฤทธิเดช, ประสพสุข ฤทธิเดช และ จีระนัน เสนาจักร์. (2553). แหล่งเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการ เสริมสร้างการเรียนรู้ แบบทางเลือกของเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1), 71-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30