แนวทางการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พระอธิการมงคล กุนทิ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • จีรศักดิ์ ปันลำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

แนวทาง, การท่องเที่ยว, ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 24 ด้วยวิธีเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลและข้อมูลด้วยการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นบ่งบอกประวัติศาสตร์และความเชื่อท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นจากอำนาจเข้ามาปกครองหัวเมืองล้านา และความเชื่อตามตำนานการเสวยพระชาติเป็นพระโคอุสุภราชที่มีต่อวัดเวียง วัดอุมลอง และวัดดอยป่าตาล ฯลฯ ที่ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจนเป็นยึดถือและปฏิบัติเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเกิดจากความเชื่อทางศาสนา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ที่สามารถจำแนกออกได้ 5 มิติ ได้แก่ 1) มิติทางด้านความเชื่อ 2) มิติทางด้านประวัติศาสตร์ 3) มิติทางด้านพิธีกรรมและศาสนา 4) มิติทางด้านศิลปกรรม และ 5) มิติทางด้านวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น จากการหล่อหลอมวิถีการอยู่ร่วมกันทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นจนเป็นอัตลักษณ์ที่เกิดจากมรดกทางปัญญาของชุมชน แนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ได้แก่ 1) การรักษาอัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น 2) การสนับสนุนด้านงบประมาณ 3) การมีส่วนร่วม การระดมความเห็น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 4) การจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์ 5) ผลิตภัณฑ์ OTOP ชุมชน และ 6) การประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

References

เกษราพร ทิราวงศ์ และ อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง. (2552). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบ้านแม่แรม ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน(รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

จิระนันท์ ชัยรัตนคำโรจน์ และ พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนในจังหวัดน่าน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6 (11), 259-276.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2547).ประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูเกียรติ นพเกตุ. (2542). การท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน...จุดเริ่มต้นของการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ธิติพงศ์ พิรุณ. (2553). ปราสาทพนมรุ้ง : แนวทางการอนุรักษ์พิธีกรรมทางศาสนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์, ประยูร สุยะใจ และ พระมหานภดล เตชธมฺโม. (2553). ศึกษาศาสนสถานที่สำคัญต่อการอนุรักษ์การท่องเที่ยวของวัดในกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

พยอม ธรรมบุตร. (2548). หลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, จีระศักดิ์ ปันลำ และ อาภากร ปัญโญ. (2560). การพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวัดและชุมชนในล้านนา (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุธดี ชิดชอบ. (2548). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวในเกาะช้าง จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30