การจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันตามหลักพุทธนิเวศวิทยาของหน่วยป้องกัน และพัฒนาป่าไม้เกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สายชล สง่าศรี พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • จีรศักดิ์ ปันลัม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

การจัดการ, ไฟป่าและหมอกควัน, พุทธนิเวศวิทยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันของหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้เกาะคา จังหวัดลำปาง 2) ศึกษากระบวนการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันตามหลักพุทธนิเวศวิทยา 3) นำเสนอรูปแบบการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันตามหลักพุทธนิเวศวิทยา เป็นการวิจัยผสมผสานเชิงคุณภาพและปฏิบัติการ และมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 24 คน

ผลการวิจัยพบว่า การจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ได้ปฏิบัติตามนโยบายภาครัฐและเอื้ออำนวยต่อท้องถิ่นในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ด้วยการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ได้แก่ 1) การป้องกัน 2) การจัดการเชื้อเพลิง  3) การมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและจิตอาสา 4) การดับไฟป่า ซึ่งกระบวนการจัดการมีกลยุทธในการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การให้ความรู้ 3) การสร้างจิตสำนึก 4) การมีส่วนร่วม และ5) การสร้างเครือข่าย

รูปแบบการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันตามหลักนิเวศวิทยาเชิงพุทธจำแนกออก 3 ระดับ ได้แก่ 1) ต้นน้ำ การสร้างจิตสำนึกให้แก่ชุมชน ได้แก่ (1) การบวชป่า (2) การสืบชะตาป่า (3) การปลูกป่า และ (4) การกำหนดเขต/พื้นที่ 2) กลางน้ำ การเฝ้าระวังและดูแลเพื่อป้องกันไฟป่าและหมอกควัน ได้แก่ (1) การทำแนวกันไฟ (2) การรณรงค์การลดการเผา (3) การชิงเผา เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศและลดผลกระทบที่เกิดจากการเกิดฝุ่นควันได้ดีที่สุด และ 3) ปลายน้ำ การสร้างพื้นที่ให้อุดมสมบูรณ์หรือการเตือนภัยไฟป่าด้วยระบบสัญญาณตรวจจับความร้อน Hotspot เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ กลุ่มจิตอาสา ภาคีได้รู้บริเวณที่เกิดไฟไหม้หรือหมอกควัน เพื่อหน่วยงานจะได้เข้าไปยับยั้งไฟป่าและหมอกควันได้ทันถ่วงที

References

จุฬาวัลย์ พรหมสุวรรณ. (2553). การพัฒนาบทบาทของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

เฉลิม พุ่มไม้. (2558). การจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันแบบบูรณาการ: กรณีศึกษาพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง. (2549). คู่มือการสอนเกี่ยวอากาศในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. (2548). ระดับรายวันของฝุ่นในอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน มหาวิทยาลัยชียงใหม่.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2538). ธรรมะกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

ไพรัช ตระการศิรินนท์ และคณะ. (2553). โครงสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน: กิจกรรมพัฒนาชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้การแก้ไขปัญหามลภาวะหมอกควันในชุมชน. เชียงใหม่: คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิมลลักษณ์ ชูชาติ. (2540). การนำเสนอรูปแบบของกระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ สำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ศิริ อัคคะอัคร. (2543). การควบคุมไฟป่าสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้.

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์. (2559). การบริหารจัดการเชิงพุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติแนวพุทธของพระสงฆ์ในจังหวัดลำปาง (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์. (2560). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติกับการสร้างสุขภาวะชุมชนตามวิถีพุทธในจังหวัดลำปาง (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ส่วนควบคุมไฟป่า. (2557). รายงานประจำปี 2557. กรุงเทพฯ: สำนักป้องกัน ปราบปรามและควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561). นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2552). เปิดพรมแดนความรู้แก้ไขปัญหาหมอกควัน “เปิดพื้นที่การเรียนรู้”. เชียงใหม่: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30