แนวคิดทางด้านพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์

ผู้แต่ง

  • พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนา, จามเทวีวงศ์, พงศาวดารนครหริภุญชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและความเป็นมาเกี่ยวกับคัมภีร์จามเทวีวงศ์ และ 2) ศึกษาแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงศ์ โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ใช้คัมภีร์ ตำนานจามเทวีวงศ์ พงศาวดารนครหริภุญชัยเป็นเอกสารปฐมภูมิ จากนั้นจึงวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดทางพระศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์จามเทวีวงค์แล้วตรวจสอบกับพระไตรปิฎกเพื่อหาความสัมพันธ์ โดยนำเสนอผลการวิจัยเป็นพรรณนาโวหาร

            ผลการวิจัยที่พบ จามเทวีวงศ์เป็นผลงานของพระโพธิรังสี แต่งเป็นคัมภีร์พงศาวดารหริภุญชัย ต้นฉบับเป็นภาษาบาลี ไม่ปรากฏปีที่แต่ง เนื้อหามีทั้งหมด 15 ปริเฉท โดยกล่าวถึงการเริ่มสร้างเมืองหริภุญชัย ประวัติของพระนามจามเทวี การปกครองเมืองหริภุญชัย การสิ้นพระชนม์ของพระนางจามเทวี และการพบพระบรมธาตุของพระเจ้าอาทิตยราช ในส่วนของแนวคิดทางพระพุทธศาสนาพบว่า คัมภีร์จามเทวีวงศ์มีเนื้อหาที่ผูกเรื่องขึ้นมาเองเป็นจำนวนมากซึ่งไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ผู้เขียนได้พยายามเชื่อมโยงให้เข้าพระพุทธศาสนาโดยการปูฐานแนวคิดที่ปรากฏในพระไตรปิฎกแล้วเชื่อมต่อด้วยเรื่องราวตนผูกขึ้นมาในภายหลัง ส่วนหลักธรรมที่ปรากฏจามเทวีวงศ์นั้นส่วนมากนั้นตรงกับพระไตรปิฎก เน้นที่หลักธรรมสำหรับการปกครองบ้านเมือง หลักธรรมสำหรับการดำเนินชีวิต เช่น ความกตัญญู และการรักษาศีล 5 เป็นต้น

References

ธีรพัฒน์ พูลทอง. (2560). ราชธรรมในจามเทวีวงศ์ : ความสัมพันธ์กับการสร้างบารมีเพื่อเป็นพระอินทร์. วารสารไทยศึกษา, 13(2), 99-122.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). ประณามพจน์หนังสือ. วารสารมติชนสุดสัปดาห์, 25(1308), 33.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2517). ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2555). จามเทวีวงศ์ในฐานะเรื่องเลาเชิงพระพุทธศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.

พระมหาสายัญ ศรีอ่อน. (2550). ประณามคาถาและนิคมคาถาในวรรณคดีบาลี: แนวคิด รูปแบบและภาษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พระศรีธรรมโสภณ. (2557). จามเทวีวงศ์ พงศาวดารนครหริภุญชัย. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.

เพ็ญพิตรา แสงสุข. (2561). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมจามเทวีวงศ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

วรรณธิรา วิระวรรณ. (2557). ประณามบทในวรรณคดีไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศิลปากร. (2510). จามเทวีวงศ์. กรุงเทพฯ: มิตรนราการพิมพ์.

สดุภณ จังกาจิตต์. (2551). จามเทวี : วรรณกรรมที่ถูกลืม. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

สุพรรณ ณ บางช้าง. (2529). วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย: จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์นประกาศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

แสง มนวิทูร. (2540). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30