ความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด
คำสำคัญ:
ความสามารถในการสื่อสารบ, การสื่อสารวิทยาศาสตร์, กิจกรรมการเรียนแบบคู่คิดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบในร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบในร่างกายมนุษย์ ก่อน และหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านแม่แฮเหนือจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด เรื่องระบบในร่างกายมนุษย์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.876 และแบบวัดความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบในร่างกายมนุษย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่า t-test แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบในร่างกายมนุษย์หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิคเพื่อนคู่คิดสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้ จากการวิจัยค้นพบว่าเมื่อนักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารที่ดีขึ้นจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นด้วยเห็นได้จากคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบในร่างกายมนุษย์หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิคเพื่อนคู่คิดสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารของนักเรียนควรทำอย่างอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำ และสม่ำเสมอ โดยที่ไม่รีบเร่ง รีบร้อน โดยมองเห็นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
References
โฆษิต จัตุรัสวัฒนากุล. (2543). การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสอนเป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือเป็นรายบุคคลที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการถ่ายโยงความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
บุศรา สวนสาราญ. (2555). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH PLUS ร่วมกับกิจกรรมการเรียนแบบคู่คิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ปริศรา มอทิพย์. (2553). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีรูปแบบกรเรียนต่างกัน(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2551). เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Mentor Coached Think-Pair-Share เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนรู้ออนไลน์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำราญ ไผ่นวล. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในวิธีสอนวิชาสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือกิจกรรมแบบเพื่อนคู่คิด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.