การพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พัลลภ หารุคำจา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูปลัดณัฐพล จนฺทิโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูโกวิทอรรถวาที มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูธรรมธรชัยวิชิต ชยาภินนฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • บุญมี แก้วตา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ครูพระสอนศีลธรรม, หลักสูตรแบบบูรณาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้และวิเคราะห์หลักสูตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนารูปแบบการสร้างหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) นำเสนอแนวทางและขยายผลรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพผสมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรที่ครูพระสอนศีลธรรมใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วย 5 สาระ ได้แก่ สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม สาระที่ 2 หน้าที่พลเมืองและการดำเนินชีวิตในสังคม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ สาระที่ 4 ภูมิศาสตร์ และสาระที่ 5 ประวัติศาสตร์  การพัฒนารูปแบบการสร้างหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 2 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในหลักสูตรโรงเรียน วัดสวนดอก พุทธศักราช 2564 ชั้นประถมศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2) หลักสูตรหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่องหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโป่งน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่  แนวทางและขยายผลรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ คือ 1) การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมโครงการวิจัย 2) การจัดสนทนากลุ่มย่อย เพื่อวิพากษ์หลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

References

กรมการศาสนา. (2549). การศึกษาทบทวนโครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน.กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คู่มือปฏิบัติงานโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. (2551). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ นาคแก้ว และ นงเยาว์ สุขาพันธ์. (2522). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระมหาวิจัก กิตฺติวณฺโณ (ชนะพจน์). (2561). รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามหลักพุทธวิธีการสอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม. (2550). คู่มือการดำเนินงาน โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2550. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุเทพ เชื้อสมุทร. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31