ประสิทธิผลของผังความคิดในการพัฒนาทักษะการสรุปความกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่หวาน

ผู้แต่ง

  • ปานตะวัน ทายงาม หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • อนงค์ศิริ วิชาลัย สาขาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ศรีทัย สุขยศศรี สาขาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ผังความคิด, การพัฒนาทักษะ, การสรุปความ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องประสิทธิผลของผังความคิดในการพัฒนาทักษะการสรุปความ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนโดยใช้ผังความคิด ในการพัฒนาทักษะการสรุปความกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ประสิทธิผลของผังความคิดในการพัฒนาทักษะการสรุปความ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่หวาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่เรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะ จำนวน 5 แผน และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 5 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล

ผลการวิจัย พบว่า  

  1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ 87/85 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
  2. ดัชนีประสิทธิผลของผังความคิด ในการพัฒนาทักษะการสรุปความมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.6786 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.86
  3. ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.33 คะแนน และ 8.5 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 3.71 คะแนน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พัชรานุช บ้งชมโพธิ์, ชาญวิทย์ หาญรินทร์ และ ประยูร เทพพิทักษ์ศักดิ์. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ4MAT และแบบใช้แผนผังความคิด. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(65), 199-207.

มิสสุกัญญา วิเชียรดิลก. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ภูมิศาสตร์น่ารู้วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้ชุดแบบฝึกเติมคำ Mind ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม.

รจนา ป้อมแดง. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์. อุบลราชธานี: โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง.

ศยามน จำรัสสกุล, วีระ วงศ์สรรค์ และ รสรินทร์ อรอมรรัตน์. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนที่ความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์, 2(1), 14-22.

สรวีย์ เคียนสันเทียะ. (2545). การใช้เพลงไทยลูกทุ่งเป็นสื่อพัฒนาทักษะการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2543). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้นท์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31