ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมการฟ้อนผีในล้านนา

ผู้แต่ง

  • กฤษณะกาญจน์ ธารารัตนะกาญจน์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ไพรินทร์ ณ วันนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, พิธีกรรมการฟ้อนผี, ล้านนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเรื่องผีในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาพิธีกรรมการฟ้อนผีเม็งในล้านนา 3) วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมการฟ้อนผีเม็งในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารชั้นปฐมภูมิ ชั้นทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องผีในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา หมายถึง อมนุษย์ภูต เปรต สัมภเวสี ปีศาจ โอปปาติกะ วิญญาณ อสุรกาย และเมื่อตายไปก็จะมีกรรมเป็นตัวกำหนด และติดตามไป โดยเรื่องราวของผีได้มีการปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่มากมายซึ่งก็ได้นำมาใช้เป็นแนวทางแห่งการเผยแพร่ในเข้ากับบริบทความเชื่อแบบวัฒนธรรมดั้งเดิมของมนุษย์ในสังคมนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ส่วนพิธีกรรมการฟ้อนผีเม็งในล้านนาได้มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้มีการอบรมสั่งสอน และทำการส่งต่อพิธีกรรมนี้ให้กับผู้คนรุ่นหลัง โดยให้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อของศาสนา และพลังเหนืออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่ามีอยู่จริง ส่วนหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมการฟ้อนผีเม็ง คือ ด้านความกตัญญู ด้านความสามัคคี และด้านการให้ทาน ซึ่งยังสร้างอิทธิพลต่อด้านศาสนา สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดีในการหล่อหลอมทางด้านเผ่าพันธุ์ของผู้คนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยังศูนย์กลางของที่พึ่งทางใจพร้อมกับเป็นการเสริมสร้างรักษากฎระเบียบประเพณีของสังคมต่อไป

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2521). คติชาวบ้านอีสาน. อักษรวัฒนา.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2533). วัฒนธรรมสังคมการนับถือผีฟ้าของชาวอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2547). วรรณกรรมศาสนา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิตยา จันโทภาสกร. (2526). สืบชะตา: การศึกษาเชิงวิจารณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. คลังปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/1849

พงศธร คัณฑมนัส. (2557). พิธีกรรมความเชื่อในการฟ้อนผีมด ผีเม็ง ในรูปแบบล้านนา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่]. ChiangMai Rajabhat University Intellectual Repository. http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/16

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย.

มาณพ มานะแซม. (2541). การศึกษาเชิงปรัชญาเรื่อง คติความเชื่อเรื่องการฟ้อนผีในภาคเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มาณพ มานะแซม. (2555). รูปแบบเครื่องแต่งกายในพิธีกรรมฟ้อนผีของชาวล้านนา. วารสารวิจิตรศิลป์, 3(2), 135-164.

ศราวุธ จันทรขำ และอนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2563). นาฏกรรมกับพระพุทธศาสนาในล้านนา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 16-32.

อรุณรัตน์ จันทะลือ. (2549). การสืบทอดความเชื่อเรืองผีปู่ตาของเยาวชนชาติพันธุ์โส้ บ้านกอกอ ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01