การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม, ทักษะในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา 2) พัฒนา 3) ศึกษาผลการดำเนินงาน 4) ประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา กรรมการฝ่ายวิชาการ ครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 281 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ คู่มือการดำเนินงาน แบบประเมินการมีส่วนร่วม แบบประเมินความสามารถของครู แบบประเมินทักษะของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test Dependent Sample และการพรรณนาวิเคราะห์

ผลกาวิจัยพบว่า

  1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน บุคลากรมีส่วนร่วมระดับมาก ผู้ปกครองและชุมชนระดับน้อย ความต้องการของบุคลากร ผู้ปกครองและชุมชน ระดับมาก วิเคราะห์รายด้าน การตัดสินใจ ระดับมากที่สุด การดำเนินงาน การรับผลประโยชน์ การประเมินผล ระดับมาก
  2. ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ระบบและกลไก วิธีดำเนินการ แนวทางการประเมิน และเงื่อนไข วิธีดำเนินงาน ได้แก่ การตัดสินใจ การดำเนินงาน การรับรู้ผลประโยชน์ และการประเมินผล การตรวจสอบรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ระดับมาก มีความเป็นประโยชน์ ระดับมากที่สุด
  3. ผลการดำเนินงาน บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนระดับมากที่สุด ผู้ปกครองและชุมชน ระดับมาก การดำเนินงานตามรูปแบบ ทำให้ครูผู้สอนมีสามารถจัดการเรียนรู้ระดับมาก นักเรียนมีทักษะหลังดำเนินงานสูงกว่าก่อนดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
  4. ประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงรูปแบบ บุคลากร ผู้ปกครองและชุมชน มีความพึงพอใจ ระดับมาก โดยเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศสนับสนุน นำทรัพยากรในท้องถิ่นมาออกแบบหน่วยการเรียนรู้เน้นบูรณาการ ส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานนักเรียน นำคู่มือการประเมินผล และเครื่องมือประเมินทักษะเผยแพร่ในระบบเครือข่าย ให้บุคลากร ผู้ปกครอง และชุมชนสามารถนำไปใช้ได้สะดวก

References

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 1-3.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ณฐวัฒน์ ล่องทอง. (2561). การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มที่มุ่งเน้นการรู้คิด-พฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างความหยุ่นตัวทางอารมณ์ของวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์เด็ก. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(2), 199-214.

ณัฐกานต์ เกตุชาวนา. (2554). ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการมีส่วนร่วมโครงการจัดรูปที่ดินของจังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ทรงศักดิ์ กวานปรัชชา. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ปรีดา กลั่นแก้ว. (2552). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนระดับมัธยม (รายงานผลการวิจัย). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ และคณะ. (2554). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ยุทธไชยันต์ พรหมนิกร. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนบนพื้นฐานการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ป่าชุมชนดงมัน จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

วัชรพงษ์ น่วมมะโน และ กาญจนา บุญส่ง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 1120-1131.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศิริลักษณ์ นาทัน. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของโรงเรียนต้นแบบในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สมาพร ลี้ภัยรัตน์. (2560). รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล. สุทธิปริทัศน์, 31(100), 261-273.

สันติ บุญภิรมย์. (2553). การบริหารงานวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุคพอยท์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2551). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2560). การดำเนินงานจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. (2560). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่น ที่ 15 (ภาคเหนือตอนบน 1) ประจำปีการศึกษา 2559. เชียงใหม่: กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

Balderson, D. W. (2003). The Effects of a Personal Accountability and Personal Model on Urban Elementary Student Social and Off-task Behaviors. (Master’s thesis, University of Nevada).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30