การพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนบ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ก้องภพ จรูญพงศ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ชูศักดิ์ เอกเพชร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • นัฎจรี เจริญสุข สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ระบบบันทึกข้อมูล, การประเมินคุณภาพผู้เรียน, การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, โรงเรียนบ้านนาสาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของระบบบันทึกข้อมูล 2) พัฒนาระบบบันทึกข้อมูล ที่ใช้ในงานประกันคุณภาพภายใน และ 3) ประเมินความเหมาะสมของระบบบันทึกข้อมูล ที่ใช้ในงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนบ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาระบบบันทึกข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนโรงเรียนบ้านนาสาร จำนวน 70 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาระบบบันทึกข้อมูล โดยการนำระบบบันทึกข้อมูล เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนํา จากนั้นนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ และประเมินความเหมาะสมของพัฒนาระบบบันทึก โดยให้ผู้บริหารและครูผู้สอน ไปศึกษาทำความเข้าใจ ทดลองใช้จริงเป็นเวลา 1 เดือน โดยผู้วิจัยได้ติดตั้งระบบให้กับโรงเรียนบ้านนาสาร พร้อมคู่มือการใช้ระบบ และแบบประเมินความเหมาะสม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัญหาและความต้องการ จากการสนทนากลุ่มพบว่า โดยรวม คณะครูส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการเก็บข้อมูล จากการสังเกตพฤติกรรมการทำงาน สำหรับใช้ในงานประกันคุณภาพภายใน และไม่มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ข้อมูลเก่าๆ ศูนย์หาย
  2. ผู้วิจัยนําระบบที่ใช้ G Suite for education เป็นฐาน หาค่าความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าที่ 0.84 จากนั้นจึงได้นำระบบที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนําของผู้เชี่ยวชาญไปใช้จริง
  3. ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในงานประกันคุณภาพภายใน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

References

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. (2561, 23 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 11ก. หน้า 3-5.

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2560). นวัตกรรมการบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 484-501.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ.

รัตน์จินันท์ ไพรดีพะเนาว์. (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

วัชรศักดิ์ สงค์ปาน. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพ ภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

สุพิชญา กลันนุรักษ์. (2559). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดกลางในกลุ่มเกาะแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

อาพร สุนทรวัฒน์ และ ทัดทอง พราหมณี. (2560). การประยุกต์ใช้ Google Sheet ในการบริหารงบประมาณ. PULINET Journal. เพชรบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31