รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ นามประดิษฐ์ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่
  • ชูชีพ พุทธประเสริฐ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สุทธิพงศ์ ยงค์กมล กองอำนวยการโรงเรียนในเครือสารสาสน์

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, ทักษะการโค้ช, ผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบทักษะการโค้ชของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 2) ศึกษาสภาพการพัฒนาทักษะการโค้ช 3) สร้างตรวจสอบและประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ช และ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ช ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ตาราง การสังเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบบันทึกการประชุม แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินคุณลักษณะของผู้บริหาร หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือตามวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’ Alpha Coefficient) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. องค์ประกอบทักษะการโค้ชของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มี 8 องค์ประกอบ คือ 1) การสร้างความตระหนักรู้ในการโค้ช 2) การกำหนดเป้าหมายของการโค้ช 3) การสร้างความสัมพันธ์เพื่อสร้างความไว้วางใจและความศรัทธา 4) การฟังอย่างลึกซึ้ง 5) การตั้งคำถามทรงพลัง 6) การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก 7) การจูงใจและให้กำลังใจ 8) การสื่อสาร
  2. ผลการศึกษาสภาพการพัฒนาทักษะการโค้ช พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบด้านการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด
  3. ผลการสร้าง ตรวจสอบและประเมินรูปแบบ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบมี 6 ส่วน คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการพัฒนาทักษะการโค้ชตามองค์ประกอบด้วย GROW Model 4) แนวทางการประเมินความสำเร็จของรูปแบบ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ และ 6) คู่มือการใช้รูปแบบ โดยผลการตรวจสอบและประเมินรูปแบบ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
  4. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากและผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน ผลการสะท้อนคิด พบว่า รูปแบบการพัฒนาตอบสนองกับแนวนโยบายของการจัดการศึกษาระดับชาติและกลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์

References

บงกชรัตน์ เกตุศรีพงษ์. (2547). การศึกษาสภาพการติดต่อสื่อสารภายในตามทัศนะของผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากรสถาบันราชภัฎธนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

บรรยงค์ โตจินดา. (2554). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ศิริรัตน์ ศิริวรรณ. (2557). การโค้ชเพื่อผลการปฏิบัติงานที่ยอดเยี่ยม. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

สุนทรีภรณ์ จันทรวิชชัย. (2555). ปัญหาและอุปสรรคทางการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสาขา : กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สุมลา พรหมมา. (2559). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์).

อัจฉรา จุ้ยเจริญ. (2557). การโค้ชผู้บริหาร (Executive Coaching). สืบค้น 29 ธันวาคม 2562, จากhttp://atcharablog.com/วิธีการโค้ช

Bertalanfy, L.V. (1968). General system theory: foundations, development, application. New York: George Braziller.

Costa, A. L., & Robert J. Garmston. (2002). Cognitive coaching foundation seminar learning guide (5th ed.). Highlands Ranch, CO: Center for Cognitive Coaching.

Keeves, P.J. (1988). Education Research, methodology and measurement: an international handbook. Oxford: Pergamon Press.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Madaus, G.F, Scriven, M., & Stufflebean, D.L. (1983). Evaluation models. Boston: Kluwer-Nijhoff.

Medland, J. (2009). Coaching as a successful strategy for advancing new manager competency and performance. Journal of nurse’s staff, 25(3), 141-147.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31