ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 5

ผู้แต่ง

  • พระดนุวศิลป์ วัฒนธีระกาญจน์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ธีระภัทร ประสมสุข คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ปรีชาชาญ อินทรชิต คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • เพ็ญพรรณ แสงเนตร คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ประสิทธิภาพการจัดการศึกษา, โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 5 ประชากรได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานเขตโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 5 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 527 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสมรรถนะขององค์กร ด้านการกำกับ ติดตาม ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และด้านการติดต่อสื่อสาร ตามลำดับ

แนวทางการส่งเสริมปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาคือ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ควรวางแผนงานวิชาการ จัดโครงการสอน ให้ครูได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ควรจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ด้านสมรรถนะขององค์กร ควรกำหนดวิสัยทัศน์ ที่เหมาะสมสามารถปฏิบัติได้  ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร ควรกำหนดนโยบาย แผนงาน และเป้าประสงค์ของโรงเรียนที่ชัดเจน  ด้านการกำกับ ติดตาม ควรเปิดโอกาสให้บ้าน และวัดมีส่วนร่วมในการติดตามพฤติกรรมผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

พระครูวุฒิธรรมานันท์ (พิมพ์เทพ พุทฺธาโณ). (2554). ศึกษาการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระประภาส สิริโภคาพณิชกุล. (2553). การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 2. วิทยาจารย์, 111(2), 57-59.

ภัทรพร อุตพันธ์. (2551). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมในภาคใต้. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2564, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52620

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มนตรี.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2563). ข้อมูลการจัดการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: กองพุทธศาสนศึกษาแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30