การนำหลักพุทธปรัชญามาใช้ในการเรียนของนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธปรัชญา, การเรียน, นักศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนำหลักพุทธปรัชญามาใช้ในการเรียนการเรียนของนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เปรียบเทียบการนำหลักพุทธปรัชญาใช้ในการเรียนของนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่มีอายุ รายได้ และอาชีพต่างกัน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำหลักพุทธปรัชญาใช้ในการเรียนของนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามการนำหลักพุทธปรัชญาใช้ในการเรียนการเรียนของนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด 170 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยอาศัย กรอบแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐาน รวมทั้งนิยามปฏิบัติการ

ผลการวิจัย พบว่า

  1. นักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการนำหลักพุทธปรัชญาใช้ในการเรียน โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกออกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิริยะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านวิมังสา และด้านฉันทะ ส่วนด้านจิตตะ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ
  2. ผลการเปรียบเทียบการนำหลักพุทธปรัชญามาใช้ในการเรียนของนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่มีอายุ รายได้ และอาชีพต่างกัน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการนำหลักพุทธปรัชญามาใช้ในการเรียนของนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พบว่า ด้านวิริยะมีความถี่มากที่สุด คือ ควรมีความขยันหมั่นเพียร และอดทนในการเรียน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

References

กิติมาน นาทอน. (2546). การบริหารกิจกรรมนักเรียนแบบมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ตามหลักอิทธิบาท 4 โรงเรียนบ้านค้างอ้อย อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถานบันราชภัฎอุตรดิตถ์).

ชูศรี พันธ์ทอง. (2537). สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2539). คู่มือการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย ปี 2562. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ประกฤษฏิ์ ทองคอนคู่. (2552). หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวัดหลวงวิทยาอำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

พนมไพร ไชยยยงค์. (2551). ผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพี่อพัฒนาการใช้อิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 4. คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตสุพรรณบุรี).

พระมหาวุฒิกร บัวทอง. (2552). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษากลุ่ม 7. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย).

มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2539). อนุสรณ์พิธีประสาทปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต รุ่น 42/2538. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

วิชญาภา เมธีวรฉัตร. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักอิทธิบาท 4 กรณีศึกษาโรงเรียนคีรีวงศ์วิทยา จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สถิต รัชปัตย์. (2548). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการศึกษาเล่าเรียนของนักศึกษาคฤหัสถ์ มหาวิทยามหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สุรินทร์ นินทศรี. (2551). การดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักอิทธิธรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนวัดควนส้าน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31