รูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการออกแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพฝาง

ผู้แต่ง

  • ปัญญา ช่างงาน วิทยาลัยการอาชีพฝาง เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความคิดสร้างสรรค์, การออกแบบนวัตกรรม, อาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพความต้องการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคดัชนีชี้ความจำเป็น (Priority index) สภาพที่เป็นอยู่และสภาพความต้องการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างและยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกร 3) ทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกร 4) ประเมินประสิทธิภาพด้านความคิดสร้างสรรค์และความเป็นนวัตกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาวิชาโครงงานของวิทยาลัยการอาชีพฝาง วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม G*power จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามดัชนีชี้ความจำเป็น (Priority index) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของ Jellen and Urban (1989) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน CFA และการวิเคราะห์สถิติโค้งพัฒนาการ LGM โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า อัตราพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ ในภาพรวมของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพฝาง ค่าเฉลี่ยของ Intercept มีค่า 3.31 และมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000 ส่วนค่าเฉลี่ยของ Slop มีค่า .788 คะแนนและ มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง Intercept กับ Slop มีค่า -.741 และมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000)

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และวาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2563). การศึกษาองค์ประกอบความต้องการและความจำเป็นในการส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(1), 79-90.

เตชินี ทิมเจริญ, เชษฐภูมิ วรรณไพศาล, และเพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2565). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ฐานการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียน ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 1-12.

ไปรมา อิศรเสนา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2560). การคิดเชิง ออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. Thailand Creative & Design Center. http://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking.Learning.by.Doing.pdf

มารศรี ญาณะชัย. (2549). คำถามที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะอย่างไร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2(2), 22-31.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับย่อ (ภาษาไทย). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/06/NS_SumPlanOct2018.pdf

สุขุม มูลเมือง. (2559). โมเดลสมการโครงสร้างการประยุกต์ใช้โปรแกรม AMOS และ Mplus (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา ซื่อตระกูลพานิชย์. (2550). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Assessing Creative Potential World-wide: The First cross – cultural Application of the Test for Creative Thinking-drawing Production (TCT-DP). Gifted Education International, (6), 78-86.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160.

Jellen, H. G. & Urban, K.K. (1988). Assessing creative potential world-wide: the first cross-cultural application of the test for creative thinking-drawing production (TCT-DP). Gifted Education International, 6, 78-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30