การตีความสัญลักษณ์เชิงพุทธที่ปรากฏในเจดีย์ล้านนา

ผู้แต่ง

  • พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ (ธรรมวัฒน์ศิริ) คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตีความ, สัญลักษณ์เชิงพุทธ, เจดีย์ล้านนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการสร้างเจดีย์ในล้านนา 2) เพื่อศึกษารูปแบบและพิธีกรรมการสร้างเจดีย์ในล้านนา และ 3) เพื่อตีความพุทธธรรมและคุณค่าจากสัญลักษณ์ที่ปรากฏในเจดีย์ล้านนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ 

ผลการวิจัยพบว่า 1) เจดีย์ในล้านนามีวิวัฒนาการมาจากศิลปะอินเดียดั้งเดิม และได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรทวารวดี อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรพุกาม และศรีลังกา สามารถแบ่งการสร้างเจดีย์ได้ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสืบทอดงานศิลปะหริภุญไชย และศิลปะพุกาม ระยะที่ 2 งานศิลปะที่ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบสุโขทัย ระยะที่ 3 ศิลปกรรมยุคเจริญรุ่งเรือง ระยะที่ 4 ยุคเสื่อมของศิลปะในอาณาจักรล้านนา 2) ในด้านรูปแบบของเจดีย์ มีการจัดกลุ่มเจดีย์ตามรูปทรง และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ  (1) เจดีย์ทรงปราสาทยอด (2) เจดีย์ทรงระฆัง (3) เจดีย์ทรงพิเศษ และและพิธีกรรมในการสร้างเจดีย์ แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่  (1) พิธีวางอิฐมงคลปฐมฤกษ์  (2) พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (3) พิธีบรรจุพระพิมพ์ในคอระฆังเจดีย์ 3) ผู้วิจัยได้ใช้การตีความ 2 แบบ คือ (1) การตีความแบบยึดถือผู้อ่านเป็นสำคัญ ใช้ในการตีความสัญลักษณ์เชิงหลักธรรมที่ปรากฏในเจดีย์ (2) การตีความแบบยึดถือคัมภีร์เป็นสำคัญ ใช้ในการตีความสัญลักษณ์ที่ปรากฏภายใต้ฐานเจดีย์ และคุณค่าที่พบจากสัญลักษณ์ คือ (1) คุณค่าทางความงาม (2) คุณค่าทางด้านเรื่องราว (3) คุณค่าทางด้านวัฒนธรรม และ (4) คุณค่าทางด้านจิตใจ

References

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์. (2563, 28 มีนาคม). สถูป เจดีย์ : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม. ข่าวสดออนไลน์. สืบค้น 1 ตุลาคม 2554, จาก https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_3834947

พระพงษ์ระวี อุตฺตรภทฺโท, สรัสวดี อ๋องสกุล และ เชาวลิต สัยเจริญ. (2563). การสถาปนาเจดีย์ในล้านนาภายใต้คติมหาโพธิมณฑล. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 11(1), 160-180.

พระมหาคำสิงห์ สีหนนฺโท (กองเกิด). (2556). ศึกษาเรื่องเจดีย์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. (2557). ฮอมผญา 30 ปี มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่เชียงใหม่: ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2539). ปาไป่สีฟู่-ปาไปต้าเตี้ยน. กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์.

วิสิฏฐ์ คิดคําส่วน. (2560). การตีความเชิงสัญลักษณ์เรื่องเสาค้ำฟ้าของพระธาตุพนม. วารสารวิจิตรศิลป์, 8(2), 103-144.

สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. (2556). การเปลี่ยนความหมายของ การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. วารสารวิจิตรศิลป์, 4(1), 325-363.

สรวิชญ์ วงศ์สอาด. (2565). รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/566108

พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ, เยื้อง ปั้นเหน่งเพชร์, พิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์ และ จันทรัสม์ ตาปูลิง. (2564). คตินิยมปฏิบัติในการกำหนดรูปแบบจัดวางผังตารางฐานภายใน พระเจดีย์จากคัมภีร์โบราณล้านนา. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(2), 200-215.

Ricoeur, P. (1978). The Task of Hermeneutics' in Heidegger and Modern Philosophy. London: Yale University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31