ศึกษาวิเคราะห์ปาณาติบาตที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานล้านนาเรื่อง ตำนานหอยไห้ ฉบับวัดท่าเดื่อ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระเกียรติศักดิ์ กิตฺติวฑฺฒโน (หลวงอิน) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปาณาติบาต, คัมภีร์ใบลาน, หอยไห้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักปาณาติบาตในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาปาณาติบาต ที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลานล้านนา เรื่องตำนานหอยไห้ ฉบับวัดท่าเดื่อ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบปาณาติบาต ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับคัมภีร์ใบลานล้านนา เรื่องตำนานหอยไห้ ฉบับวัดท่าเดื่อ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ใช้การวิเคราะห์แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

การปาณาติบาต คือ การทำร้ายชีวิตสัตว์ให้ตาย ตามองค์ประกอบของปาณาติบาตทั้ง 5 ประการ เป็นตัววัดในการกระทำผิด คือสัตว์นั้นมีชีวิต รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิตมีเจตนาที่จะฆ่า มีความเพียรที่จะเข้าไปฆ่าและสัตว์เหล่านั้นตายด้วยความเพียรพยายามในการฆ่าให้ตาย

ในคัมภีร์ใบลานล้านนา เรื่องหอยไห้ เป็นคัมภีร์นอกนิบาต สร้างขึ้นด้วยการจารลงบนใบลานด้วยอักษรธรรมล้านนา เพื่อใช้ในการเผยแผ่อบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชน ให้รู้จักการรักษาศีลข้อปาณาติบาต โดยเอาเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันมาแต่งให้เป็นนิทานชาดกเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นและมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น

ปาณาติบาตในพุทธปรัชญาเถรวาทกับคัมภีร์ใบลานล้านนานั้น มีสอดคล้องเหมือนกัน คือ เป็นหลักแห่งการปฏิบัติให้สรรพสัตว์ที่อาศัยบนโลกไม่การเบียดเบียนและทำร้ายกัน ผู้ประพฤติผิดฆ่าสัตว์ มีใจทารุณโหดร้าย เมื่อตายไปจากโลกนี้แล้วย่อมตกสู่อบายภูมิ ทุคติ วินิบาต นรก และเมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์บุคคลนั้นจะเป็นผู้มีอายุสั้น

References

ก่องแก้ว วีระประจักษ์. (2530). การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เทวินทร์ เหล็งศักดิ์ดา. (2561). ศึกษาวิเคราะห์กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระครูธรรมธรธนดล สุวณฺโณ (แสงสุวรรณ). (2560). วิเคราะห์ผลของบุพกรรมจากการทำปาณาติบาตที่ปรากฏในพระคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระครูพัชรปัญญาวุธ (ไกรทอง พาณิชย์สุทธิคุณ). (2561). ศึกษาวิเคราะห์เมตตาธรรมกับการแก้ไขปัญหาการทำปาณาติบาตในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระชยานันทมุนี, พระปลัดนฤดล กิตติภทฺโท, วรปรัชญ์ คำพงษ์, ฐิติพร สะสม, และ อรพินท์ อินวงค์. (2562). การสืบค้นและการอนุรักษ์ใบลานล้านนาของวัดเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นภาคเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 126-145.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.

พระมหาประเสริฐ ภทฺทจาโร (ยาตำนาน). (2561). ศึกษาวิเคราะห์คติธรรมและคุณค่าของคัมภีร์มหาวิบากฉบับล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช). (2562). ศีล 5 รักษาโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.

พระรัตนปัญญาเถระ. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ วันจันทร์). (2559). การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2546). ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริเฉทที่ 5 เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยรายวัน กราฟฟิค เพลท.

พุทธทาสภิกขุ. (2546). ธรรมะกับการเมือง. กรุงเทพฯ: สุขใจ.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหากุฏราชวิทยาลัย 91 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อำนาจ ยอดทอง. (2565). ปาณาติบาตในเบญจศีล: วิเคราะห์การใช้เครื่องจักรและโปรแกรมฆ่าสัตว์. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(1), 126-140.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2528). วรรณกรรมล้ำนำ. กรุงเทพฯ: โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Orzechowski, K. (2022). สถิติและแผนภูมิการฆ่าสัตว์ทั่วโลก: ปี 2022 (ล่าสุด). สืบค้น 13 พฤษภาคม 2564, จาก https://faunalytics.org/global-animal-slaughter-statistics-charts-2022-update-thai

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30