ศึกษาองค์ความรู้และกระบวนการสร้างการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในล้านนา

ผู้แต่ง

  • บุษกร วัฒนบุตร สาขาการพัฒนาธุรกิจและทุนมนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ตระกูล จิตวัฒนากร สาขาการพัฒนาธุรกิจและทุนมนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • วิโรชน์ หมื่นเทพ สาขาการพัฒนาธุรกิจและทุนมนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติ บุญยโพ สาขาการพัฒนาธุรกิจและทุนมนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

องค์ความรู้, การจัดการ, พิพิธภัณฑ์ของวัดและชุมชน, ล้านนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ในการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในชุมชนวัดน้ำจำ ตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่, วัดบ้านต๋อม ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และวัดบ้านก้อง ตำบลปากบ่อง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 2) ศึกษากระบวนการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 3) เสนอแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 รูปหรือคน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนในล้านนา เลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ วัดน้ำจำ วัดต๋อมกลาง และวัดบ้านก้อง

ผลการวิจัยพบว่า

  1. องค์ความรู้ในการจัดการพิพิธภัณฑ์ของวัดน้ำจำ วัดต๋อมกลาง และวัดบ้านก้อง เกิดขึ้นจากการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่มีการศึกษาที่เกื้อหนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้คนในท้องถิ่นได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและกระจายโอกาสการศึกษาสู่ชุมชน
  2. กระบวนการจัดการพิพิธภัณฑ์ของวัดในล้านนา ได้แก่ การรับบริจาคสิ่งของที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ การรวบรวมบริขารของพระผู้ใหญ่ การรวบรวมคัมภีร์ ผ้ายันต์ เครื่องมือทำมาหากิน การสร้างแบบจำลอง การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การกำหนดตารางผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์และผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบที่ความคิดเห็นเป็นมติจากการประชุมร่วมกันและบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการ
  3. แนวปฏิบัติที่ดี ได้แก่ การให้ความรู้ความเข้าใจการจัดการพิพิธภัณฑ์ การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การจัดหมวดหมู่ของโบราณวัตถุ และการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุด้วยการบันทึกเลขทะเบียนวัตถุ ชื่อวัตถุ หมวดหมู่ ประเภทวัสดุ ขนาด ปีพุทธศักราชที่สร้างผลงาน และภาพถ่าย

References

ไกรสิทธิ์ วิไลเลิศ. (2556). การจัดการพิพิธภัณฑ์วัด เขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งการเรียนรู้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

คาเมร่า เจราหวัง. (2563). การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐาปกรณ์ ทองคำนุช, เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์, และอรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล. (2564). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยด้วยแนวคิดพิพิธภัณฑ์จุดหมายปลายทาง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 38-52.

ปราชญ์ คำภักดี. (2561). การจัดการพิพิธภัณฑ์อีสานวัดกลางโสภณ บ้านค้อ ตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 44-55.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. สถาบันวิชาการไทยวิจัยพัฒนาการจัดการ TRDM.

ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2556). นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและการสังเคราะห์องค์ความรู้. พีเออีฟวิ่ง.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2564). 1,600 พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. https://db.sac.or.th/museum

สมลักษณ์ เจริญพจน์ และคณะ. (2547). คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. กราฟิคฟอร์แมท ไทยแลนด์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01