การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวมสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การจัดการศึกษา, ปฐมวัย, องค์รวม, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, การพัฒนารูปแบบบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวม 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวม 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวม สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวมประชากร ได้แก่ บุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอพุนพิน จำนวน 71 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวม พิจารณาตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวม ประชากรเดียวกับขั้นตอนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวม พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร และด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา
- รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวม พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการศึกษาและ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ
- ผลการตรวจสอบรูปแบบ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. กรมฯ.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). คู่มือแนวทางการจัดทำหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ.
จรูญ ยอดอุโมงค์, กรองทิพย์ นาควิเชตร, ศรุดา ชัยสุวรรณ, และสงวนพงศ์ ชวนชม. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 12(1), 10-18.
ผกามาศ มาตย์เทพ. (2561). สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วุฒิสาร ตันไชย. (2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ซัน แพคเก็จจิ้ง (2014).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แนวทางการขยายผลการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา: การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานฯ.
สุนทร หลักคำ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 ปี โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุนิสา สก๊อต, สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร และพัชรี ผลโยธิน. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวมสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(1), 179-191.
อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). Harper Collins Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ปัญญา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.