แนวทางการพัฒนาพื้นที่วัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะของชุมชน

ผู้แต่ง

  • พระมหาธณัชพงศ์ สุพฺรหฺมปญฺโญ (คิดอ่าน) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, พื้นที่วัด, ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ, ชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของวัดในโครงการวัดบันดาลใจ 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาพื้นที่วัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะของชุมชน 3) เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่วัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะของชุมชน การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดพื้นที่วิจัย คือวัดในโครงการวัดบันดาลใจ 3 วัด ได้แก่ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่, วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม จังหวัดเชียงใหม่ และ วัดบุญชุม จังหวัดพะเยา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. วัดในเมืองและชานเมือง มีรูปแบบการสร้างวัดที่ดี มีการวางผังแม่บท มีพื้นที่การใช้งานชัดเจน โดยเฉพาะเขตพุทธาวาส แต่เขตสังฆาวาสและเขตบริการสาธารณะ ยังมีการจัดสรรพื้นที่ไม่เป็นสัดส่วน เสนาสนะที่สร้างกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนวัดในชนบท พบว่า พื้นที่ของวัดไม่มีการแบ่งเขตการใช้งานที่เป็นสัดส่วน ทำให้เกิดปัญหาการใช้งานที่ไม่สมประโยชน์
  2. กระบวนการพัฒนา มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) การวางผังแม่บท พัฒนาภูมิทัศน์ การก่อสร้าง ระบบการจัดการ 2) การสร้างกิจกรรมระหว่างวัด ชุมชน 3) การส่งเสริมต้นทุนเดิมของวัด 4) การส่งเสริมชุมชนให้มีส่วนร่วม 5) การพัฒนาบุคลากร
  3. แนวทางการพัฒนาพื้นที่วัด คือ การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ชุบชูใจให้สดชื่นรื่นเย็น มีพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่ตามพระธรรมวินัย ทรงภูมิรู้ภูมิธรรม มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส มีสามารถในการสื่อสารได้ดี การรักษาจุดเด่น ทุนเดิม สิ่งที่เป็นมรดกของวัด การตั้งเป้าหมาย และเข้าใจบริบทของสังคม การส่งเสริมชุมชนให้เป็นฐานในการพัฒนา การสร้างกิจกรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัด ชุมชน รวมถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยชุมชน วัด และภาคีเครือข่าย

References

โครงการวัดบันดาลใจ. (2564). ข้อเสนอกรอบการทำงานโครงการวัดบันดาลใจ [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันอาศรมศิลป์.

นรีวัลคุ์ ธรรมนิมิตโชค. (2550). การศึกษารูปแบบของวัดที่เหมาะสมกับการเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นายนรุณ กุลผาย. (2561). การมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในการอนุรักษ์โบราณสถานพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์พิจิตร. วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี). (2558). ศัพท์วิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันอาศรมศิลป์. (2565). โครงการวัดบันดาลใจ. https://www.arsomsilp.ac.th/watbundanjai

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 30). สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

สำนักข่าวสร้างสุข. (2560, 23 กุมภาพันธุ์). เปิดต้นแบบ ‘วัดที่คนไทยอยากเห็น’. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. https://www.thaihealth.or.th/?p=221810

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560, 6 มีนาคม). ‘สบายอาราม’ปรับภูมิทัศน์ให้วัดดีต่อใจ. https://www.thaihealth.or.th/?p=240504

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2563). ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ปี 2561-2563. https://www.onab.go.th/cms/s1/u213/ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา_ปี_.pdf

อนุวรรตน์ ศิลาเรืองอำไพ. (2556). คู่มือวัดสร้างสุข (5 ส. ภาคประชาชน). โครงการวัดสร้างสุข สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

อรศรี งามวิทยาพงศ์ และคณะ. (2559). ฟื้นวัด คืนเมือง. สถาบันอาศรมศิลป์.

อรศรี งามวิทยาพงศ์ และคณะ. (2560). กลยุทธ์ ฟื้นวัด คืนธรรม นำเมือง. สถาบันอาศรมศิลป์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01