การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองน่าน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ผู้แต่ง

  • ปัณฑิตา ไชยโย สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองน่าน, ชุมชนเป็นฐาน, กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองน่าน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มผู้เรียน กลุ่มผู้ให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน มีขอบเขตพื้นที่การวิจัย คือ เขตพื้นที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน การวิเคราะห์ด้วยวิธีสรุปอุปนัยโดยบันทึกพรรณนา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยแบบสามเส้าด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผู้เรียนไม่ให้ความสำคัญในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ และเนื้อหามีจำนวนมาก และเวลาในการเรียนมีจำกัด ทำให้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีข้อจำกัด ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองน่าน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ภายใต้กิจกรรม “เรียนรู้ถิ่น แผ่นดินเกิด” มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กิจกรรมผ่านฐานการเรียนรู้ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากการวิจัยสามารถสรุปได้ว่ากิจกรรม “เรียนรู้ถิ่น แผ่นดินเกิด” เป็นกิจกรรมที่สามารถตอบโจทย์ในการส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้เรียนลงมือปฏิบัติโดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจ การอธิบาย รับฟัง การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ การวิเคราะห์และสรุป กิจกรรมยังสามารถพัฒนาด้านผู้สอน ผู้เรียน ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ครูผู้สอนเป็นผู้ที่ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และเอื้ออำนวยบรรยากาศในการจัดกิจกรรมของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ตรงตามสนใจ และครูผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน เพื่อจะได้เรียนรู้ร่วมกัน

References

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสิทธิ์ พิทักษ์คชวงค์. (2554). การจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2543). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย : จะเรียนจะสอนกันอย่างไร. กรมวิชาการ.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 11(3), 179-191.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้ : เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. อักษรเจริญทัศน์.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน : หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัจฉรา ศรีพันธ์. (2561). การจัดการศึกษาบนฐานชีวิตและการจัดการศึกษาบนฐานชุมชน. แดแน็กซ์อินเตอร์คอร์เปอร์เรชั่น.

Dressel, P. L., & Mayhew, L. B. (1957). General Education: Explorations in Evaluation (2nd ed.). American Council on Education.

Gagne′, R. M. (1985). The Conditions of Learning and Theory of Instruction. CBS College Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01