การบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0

ผู้แต่ง

  • อนุวรรต บุญเรือง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท–เชียงใหม่
  • ทัศนีย์ บุญมาภิ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท–เชียงใหม่
  • สุรศักดิ์ สุทธสิริ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท–เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, โรงเรียนประถมศึกษา, ยุคไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหาร 2) สังเคราะห์วิธีการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 94 คน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการประเมินผล ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาครูในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับ
  2. วิธีการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ ควรมีเอกสารและหลักฐานเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรขั้นพื้นฐานให้แก่บุคลากรในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์เป็นสำคัญ โดยเน้นทักษะด้าน Internet สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัย สร้างเครือข่ายการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกับหน่วยงานภายนอก และควรมีการประเมินผลการเรียนจากทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

References

กลุ่มงานวัดผลและประเมินผลการศึกษา. (2563). รายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2563. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 1.

กัญชพร ค้าทอง และประยุทธ ชูสอน. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 446-460.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และชัยยุธ มณีรัตน์. (2562). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(2), 1-11.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

ประเวศ วะสี. (2544). ปฏิรูปการศึกษาในทัศนะของ ศ.น.พ. ประเวศ วะสี. เพื่อนคิค.

พระสมุห์นริศ นรินโท. (2562). การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 2363-2380.

ภัทรนิชา สุดตาชาติ. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมกิต บุญยะโพธิ์. (2555). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สลิตา รินสิริ. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนใน อำเภอเกาะจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล มธุรส, กิตติ รัตนราษี, และอนันต์ อุปสอด. (2562). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์ลำปาง, 8(2), 266-278.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01