การจัดการเรียนรู้ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการโดยใช้วิธีการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ, การคิดเชิงออกแบบ, จังหวัดพิษณุโลกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการโดยใช้วิธีการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ตัวแทนครู กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์สรุปอุปนัย และรายงานผลแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการโดยใช้วิธีการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดพิษณุโลก แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
- ด้านครูผู้สอน บทบาทของครูผู้สอนมีส่วนสำคัญในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีการบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ หรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องและขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ ความสนใจของครูผู้สอนในการทำกิจกรรม
- ด้านแนวทางการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ดำเนินการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- ด้านบริบทของโรงเรียน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเป็นเชิงวิชาการหรือภาคทฤษฎี มีการบริหารงานในลักษณะของการอำนวยความสะดวกหรือเปิดโอกาสทางวิชาการ การจัดกิจกรรม ภายใต้ระเบียบข้อบังคับทางราชการ
- ด้านข้อเสนอแนะ การปฏิบัติหน้าที่สอนของครู นอกเหนือจากการให้ความรู้ ควรปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และประโยชน์แก่สังคม
References
จารุวัจน์ สองเมือง และอภิรักษ์ โต๊ะตาหยง. (2564). แนวทางประยุกต์การคิดเชิงออกแบบเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. Journal of Information and Learning, 32(1), 52-57.
จิรนันท์ บุญเพ็ง. (2563). แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุฑามาส โกมลมรรค. (2556). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอ่างทอง. Srinakharinwirot University Institutional Repository. https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/4197
ทรงวุฒิ แก้ววิศิษฎ์. (2564). ปัญหาจากระบบการศึกษาไทย: สู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุด “ให้ชีวิตได้ใช้”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 87-98.
ทัศนีย์ บุญแรง. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2542, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 4.
มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์ และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). การคิดเชิงออกแบบ: ครูนวัตกรวิถีใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(2), 190-199.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. สำนักงาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานเรียนออนไลน์ยุคโควิด-19: วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. สำนักงาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2563 (IMD 2020). สำนักงาน.
อรรถพันธ์ แย้มแสง, พระมหาอุดร อุตฺตโร, และปฏิธรรม สำเนียง. (2565). แนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 143-156.
อัจฉราพร ฉากครบุรี. (2564). คุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอนทางการศึกษา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 85-104.