แนวทางการประเมินสมรรถนะนิสิตนักศึกษาครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • นริศรา เสือคล้าย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

แนวทางการประเมิน, สมรรถนะนิสิตนักศึกษาครู, มาตรฐานวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะนิสิตนักศึกษาครูตามความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตนิสิตนักศึกษาครู และนำเสนอแนวทางการประเมินสมรรถนะนิสิตนักศึกษาครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตนิสิตนักศึกษาครูที่เลือกมาแบบเจาะจง จำนวน 25 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตนิสิตนักศึกษาครูคาดหวังให้นิสิตนักศึกษาครูมีสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพครู ในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู สาระการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ 1) การปฏิบัติหน้าที่ครู 2) การจัดการเรียนรู้ 3) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
  2. แนวทางการประเมินสมรรถนะนิสิตนักศึกษาครูในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพครู สาระการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 3 สมรรถนะ ดังนี้ 1) การปฏิบัติหน้าที่ครู ควรประเมินเกี่ยวกับความมุ่งมั่นพัฒนา ความเอาใจใส่ และการสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน 2) การจัดการเรียนรู้ ควรประเมินเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะ การประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน การทำรายงานผลการจัดการเรียนรู้ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ควรประเมินเกี่ยวกับความร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน การเข้าถึงและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน

References

กรกมล ชูช่วย, สุดารัตน์ ศรีมา และนันทิยา น้อยจันทร์. (2565). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 138-148. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/250968

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และจินตกานต์ สุธรรมดี. (2560). การประยุกต์ใช้สมรรถนะ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(1), 262-269. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/176387

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2560). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพในสถาบันการผลิตครูของไทย. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 317-331. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/104016

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 7 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 109ง. หน้า 10-14. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17130946.pdf

ภัทราพร เกษสังข์, อนุภูมิ คำยัง, กฤศนรัตน์ พุทธเสน, และอรวรรณ เกษสังข์. (2562). สมรรถนะและการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดเลย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 11(1), 132-145. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/182205

มานูนณย์ สุตีคา และศรายุทธ เงาคำ. (2560). การประเมินความรู้ของนักศึกษาตามสมรรถนะมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(1), 285-295. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FEU/article/view/82359

วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2565). คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ฝึกสอน) ฉบับปรับปรุง 2565. วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

วิภาวรรณ เอกวรรณัง, พิกุล เอกวรางกูร และบุญเรียง ขจรศิลป์. (2560). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 119-131. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/214174

วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์. (2560). การเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นของครูนิเทศโรงเรียนและนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะครูของนิสิต ตามมาตรฐานวิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 226-242. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106116

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2557). การวัดและประเมินสมรรถนะของบุคลากรวิชาชีพ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.edu.ru.ac.th/images/journal/13-journal-2557.pdf

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2563). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. พริกหวานกราฟฟิค.

อุบล พวงมาลา, บุญเรียง ขจรศิลป์, และธนีนาฏ ณ สุนทร. (2562). การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมิน และแบบประเมิน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 11(2), 376-394. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/201886

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28