การพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท 4 รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา สำหรับนิสิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระวิทวัส ปภสฺสรญาโณ (โกฎิฉกรรจ์) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมชัย ศรีนอก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การสอนสังคมศึกษา, หลักอิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ 2) พัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษารายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท 3) ศึกษาผลการนำระบบการสอนสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา 4) ศึกษาประสิทธิผลของระบบการสอนสังคมศึกษารายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท 4 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 6 รูป/คน นิสิต จำนวน 30 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา อาจารย์และนิสิตมีความคิดเห็น ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
  2. สภาพปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ทั้ง 5 ด้าน กระบวนการ ตามระบบการสอนสังคมศึกษา 5 ขั้นตอน ผลลัพธ์ ตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา 6 ด้าน ผลกระทบต่อผู้เรียนและมหาวิทยาลัย
  3. ผลการนำระบบการสอนสังคมศึกษารายวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ด้วยหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้อาจารย์และนิสิตมีความคิดเห็นต่อการนำระบบไปใช้ที่สูงขึ้น
  4. ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความถูกต้อง ที่ค่าเฉลี่ย 4.16 ด้านความเหมาะสม ที่ 4.15 ด้านความเป็นไปได้ ที่ 4.14 ด้านความเป็นประโยชน์ ที่ 4.31

References

กานต์ณรงค์ สอนสกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหา เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2610

ณิชาภัทร เงินจัตุรัส. (2555). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนวรรณรัตน์ศึกษา อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญถม บุตรมา, มารศรีกลางประพันธ์, และสมเกียรติ พละจิตต์. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(59), 13-20. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/59115

พระจีรศักดิ์ บุญฤทธิ์. (2554). ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มด้วยหลักอิทธิบาท 4 ที่มีต่อพฤติกรรม ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Srinakharinwirot University Institutional Repository. https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1146/1/PhraJeerasak_B.pdf

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551, 18 มกราคม). พัฒนาสังคมไทย สู่วัฒนธรรมแห่งความใฝ่รู้และสู้สิ่งยาก. มติชน, น. 10.

เล็กฤทัย ขันทองชัย. (2560). การพัฒนารูปแบบระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการเรียนรู้ออนไลน์ โดยใช้รูปแบบการสอน MIAPCED เพื่อส่งเสริมทักษะการสอนในศตวรรษที่ 2 1 ของนักศึกษาฝึกสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรมและสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2557. https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/ebook/2023/20230510161553_62156.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28