แนวทางการจัดการเรียนรู้ เรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • นวพร แสงนาค คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อัจฉรา ศรีพันธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, พลังงานและสิ่งแวดล้อม, สมรรถนะ, การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการเรียนรู้เรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดพิษณุโลก 2) พัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก ในรายวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดใช้เกณฑ์การคัดเลือกแบบเจาะจง ครูจำนวน 5 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางสังเกตแบบมีส่วนร่วม และกิจกรรมการเรียนรู้ ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไร ไม่ให้ลืมกัน เป็นเครื่องมือในการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การศึกษาสภาพปัจจุบันในการเรียนรู้เรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดพิษณุโลก ทั้งกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน พบว่าการเรียนการสอนที่มีปัญหาในเรื่องของการเรียนการสอนที่เน้นการบรรยายเป็นหลักในการเรียนการสอน
  2. การพัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ผู้วิจัยสามารถสรุปประเด็นสำคัญ คือ ด้านผู้เรียน ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อมของตนเอง ด้านผู้สอน มีการบูรณาการเข้ากับรายวิชา และด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ การใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิษณุโลก. (2564). คำสั่งจังหวัดพิษณุโลก ที่ 3639/2564 เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 สั่ง ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2564. http://www.plkhealth.go.th/uploads/documents/20210521_211713__8840.PDF

ชุติมา มั่นเหมาะ และอัจฉรา ศรีพันธ์. (2562). การจัดกิจกรรมเสริมศักยภาพการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองเก่าพิจิตรบนฐานชุมชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนเรศวร]. NU Intellectual Repository. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/1552

ถวิลวดี บุรีกุล และรัชวดี แสงมหะหมัด.(2554). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย (Citizenship in Thailand). สถาบันพระปกเกล้า.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาพรรณ พินลา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 30(1), 13-34.

Collins, J. W., & O'Brien, N. P. (2003). The greenwood dictionary of education. Greenwood.

De Bono, E. (1992). Six thing hats for school. Hawker Brownlow Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30